
เทคโนโลยีการผลิต “หม้อมีสัน” สมัยทวารวดีในพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทย
CARINATED POTTERY: DVARAVATI TECHNOLOGY IN CENTRAL THAILAND
โดย ดวงกมล อัศวมาศ / By Duangkamol Aussavamas
Damrong Journal, Vol 11, No.1, 2012
บทคัดย่อ:
บทความนี้เป็นการนำเสนอเรื่องการผลิตภาชนะดินเผาแบบหม้อมีสันในวัฒนธรรมทวารวดีในเขตพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทย จากแหล่งโบราณคดี 15 แหล่ง จำนวน 128 ตัวอย่าง ด้วยวิธีศิลาวรรณนา (petro-graphic analysis) เพื่อตรวจสอบองค์ประกอบเชิงลึกของโบราณวัตถุประเภทดินเผา โดยมีวัตถุประสงค์ของการศึกษา 2 ประการ คือ 1) เทคโนโลยีการผลิตหม้อมีสัน ตั้งแต่วัตถุดิบและส่วนผสม การขึ้นรูปภาชนะ การตกแต่งภาชนะ รวมไปถึงอุณหภูมิและการเผาของภาชนะ 2) ความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนทวารวดีที่ใช้หม้อมีสันในภาคกลาง
ผลการศึกษาพบว่าจากการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงลึกของกลุ่มตัวอย่างหม้อมีสันแสดงคุณลักษณะของภาชนะที่เรียกว่า “ภาชนะประเภทเนื้อดิน” (earthenware) โดยแหล่งดินวัตถุดิบของตัวอย่างส่วนใหญ่ได้มาจากแหล่งดินภายในภูมิภาค โดยมีส่วนผสม 2 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มที่เติมส่วนผสม ตั้งแต่ 1-3 ชนิดได้แก่ ทราย ทรายผสมแกลบข้าว ทรายผสมดินเชื้อ และทรายผสมดินเชื้อ และแกลบข้าว 2) กลุ่มที่ไม่เติมส่วนผสม คือ การใช้เนื้อดินธรรมชาติเพียงอย่างเดียว พบหลักฐานการขึ้นรูปภาชนะ 2 วิธี คือแป้นหมุน และการใช้มืออย่างอิสระประกอบกับการใช้หินดุร่วม ส่วนการตกแต่งผิวภาชนะ ได้แก่ การขัดผิว การกดด้วยลายเชือกทาบ การทานำดินสีแดง และการรมดำ สำหรับการเผาภาชนะเป็นแบบสุมเผากลางแจ้ง มีอุณหภูมิระหว่าง 400-550 องศาเซลเซียส จากหลักฐานองค์ประกอบเชิงลึกของหม้อมีสันที่นำมาศึกษาพบว่า มีความเป็นมาตรฐานภายในภูมิภาคของตนเอง และมีความสัมพันธ์กับภูมิภาคอื่นๆ
ABSTRACT:
This paper presents aspects of carinated pots of the Dvaravati period; 15 sites and 128 samples from Central Thailand were petro graphically analyzed. Examination of potsherd components was conducted with two major objectives: 1) understanding carinated pot manufacturing processes with a focus on raw materials, tempering, forming techniques, surface finishing methods, and firing; 2) understanding the relationships among Dvaravati communities in Central Thailand. The result showed that the potteries are earthenware, made of local clay, and of two different tempers: 1) an inclusion group: sand, sand and organic matter (rice chaff or husks), and sand, grog and husks; 2) a group that contained only natural inclusion - natural soil. The carinated pots were formed by wheel-throwing and free-hand forming techniques using a clay anvil. As for the surface finishing, the pots were decorated using a variety of techniques including polishing or burnishing, smoothening, cord-marking, slipping and black burnishing. The firing temperatures of the pottery ranged from 400 to 550 degrees Celsius. The samples also illustrate homogeneity and standardization within the region and also in relation to other regions