
ประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทยว่าด้วยเรื่องอยุธยา พ.ศ. 2520 -2529
THAI HISTORIGRAPHY OF AYUTTHAYA 1997 - 1986
โดย ปัญจวัลย์ ชาวดง / By Panchawan Chaodong
Damrong Journal, Vol 12, No.2, 2013
บทคัดย่อ:
บทความชิ้นนี้มุ่งศึกษางานประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทยว่าด้วยเรื่องอยุธยา พ.ศ. 2520-2529 โดยเริ่มจากการสำรวจ รวบรวม สถานภาพการศึกษาประวัติศาสตร์อยุธยา หลังจากนั้นจะเป็นการวิเคราะห์งานประวัติศาสตร์นิพนธ์เหล่านั้น รวมทั้งศึกษาบริบท และปัจจัยที่ผลักดันให้เกิดการศึกษาประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทยว่าด้วยเรื่องอยุธยาในประเด็นต่างๆ ผลการศึกษาพบว่างานประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทยว่าด้วยเรื่องอยุธยาช่วง พ.ศ. 2520-2529 ปรากฏประเด็นการศึกษาที่หลากหลายเช่น ประวัติศาสตร์การเมืองและการปกครอง ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจการค้าประวัติศาสตร์สังคมและวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศประวัติศาสตร์ศิลปะ เป็นต้น แสดงถึงความสนใจในการศึกษาประวัติศาสตร์อยุธยาของนักวิชาการ นักประวัติศาสตร์ และผู้ที่สนใจประวัติศาสตร์ แม้งานส่วนใหญ่ยังคงอธิบายเรื่องราวของสถาบันกษัตริย์เกี่ยวกับบทบาททางด้านการเมืองและการปกครอง เศรษฐกิจหรือการต่างประเทศ แต่จะเห็นแนวโน้มการอธิบายเรื่องราวทางสังคมของอยุธยามากขึ้น เช่น กลุ่มคนในสังคม วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนในสังคมของอาณาจักรอยุธยา ซึ่งการอธิบายเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ที่ปรากฏภายในงานประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทยว่าด้วยเรื่องอยุธยาช่วง พ.ศ. 2520-2529 เกิดจากบริบททางสังคม คือ กระแสการอธิบายประวัติศาสตร์ที่เน้นความเป็นศูนย์กลางที่รัฐชาติกษัตริย์ ชาตินิยม กระแสการอธิบายประวัติศาสตร์ตามแนวคิดสังคมนิยมของลัทธิมากซ์ และการค้นพบหลักฐานใหม่ๆ ทั้งภายในและต่างประเทศ ทำให้เกิดความรู้ใหม่ๆ ในการศึกษาประวัติศาสตร์อยุธยา นอกจากนี้นักวิชาการหลายด้านยังหันมาตีความประวัติศาสตร์ใหม่จากหลักฐานชุดเดิม สร้างมุมมองและองค์ความรู้ใหม่แก่วงการประวัติศาสตร์ อีกทั้งประวัติศาสตร์นิพนธ์อยุธยาจำนวนหนึ่งสร้างสรรค์เพื่อตอบสนองการค้นคว้าและมุมมองใหม่ๆ ทางประวัติศาสตร์
ABSTRACT:
This article investigates Thai historiography related to Ayutthaya from 1977 to 1986. It starts out by surveying and collecting data concerning the state of the field of Ayutthayan historical studies. Subsequently, prior historiographical materials were analyzed in context and with consideration to the factors that contribute to the studies of Thai historiography concerning Ayutthaya in various aspects. Investigative results suggest that Thai historiographical works concerning Ayutthaya from 1977 to 1986 include a wide variety of subjects, such as, political history, economic and commercial history, social and cultural history, history of international relations, and art history. This reflects the diverse interests in the studies of Ayutthayan history by academics, historians, and members of the general public with a special interest in history. Most historical investigations from this period continue to recount stories of royalty, especially the monarch’s role in politics, the economy, and international relations. Nonetheless, there appeared to be an obvious trend towards explanations concerning the social situation of Ayutthaya, such as, the various social groups, the lifestyle of people in society of the Ayutthayan Empire. The explanation of history that appeared in historiographical works concerning Ayutthaya in 1977-1986 arose from the social context of the mainstream historical explanation, which evolved around the nation-state, the monarchy, and nationalism, the Marxist historical explanation, and the discovery of new historical evidence both in Thailand and abroad. This resulted in new findings and new knowledge in the studies of Ayutthayan history. Furthermore, academics from various fields came to propose new interpretations from the old set of evidence. These new interpretations contributed new perspectives and new knowledge to the field of history. This period also saw the rise of new historiographical works that respond to new directions and new perspectives in historical research.