
พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกับการสงวนรักษามรดกทางวัฒนธรรม ของชุมชนท้องถิ่น
LOCAL MUSEUMS AND CULTURAL HERITAGE PRESERVATION OF THE LOCAL COMMUNITY
โดย ญาณินทร์ รักวงศ์วาน / By Yanin Rugwongwan
Damrong Journal, Vol 10, No.1, 2011
บทคัดย่อ:
พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเป็นกลไกสำคัญกลไกหนึ่งในการสงวนรักษามรดกทางวัฒนธรรมของชุมชนท้องถิ่น ที่มีการพัฒนามาจากรูปแบบของการสะสมวัตถุทางวัฒนธรรมมาสู่รูปแบบการใช้กระบวนการเรียนรู้ในกระบวนการจัดตั้งและดำเนินงานของพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น อันนำไปสู่การเชื่อมโยงกับการพัฒนาชุมชนในมิติต่างๆ รวมทั้งกลไกในการสงวนรักษามรดกทางวัฒนธรรมของชุมชน-ท้องถิ่น บทความชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะเพื่อศึกษาเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงของชุมชนท้องถิ่น ในมิติของการสงวนรักษามรดกทางวัฒนธรรมของชุมชน ในพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นที่เป็นกรณีศึกษาที่มีกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันในการดำเนินงาน โดยศึกษาเปรียบเทียบในช่วงเวลาก่อนมีการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นและหลังจากมีการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นโดยศึกษาจากพิพิธภัณฑ์ที่เป็นกรณีศึกษา 4 พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดม่วง จ.ราชบุรี พิพิธภัณฑ์บ้านเขายี่สาร พิพิธภัณฑ์มีชีวิต ตลาดสามชุก จ.สพุรรณบุรี และหอวัฒนธรรมไท-ยวน จ.สระบุรี การวิจัยเป็นการศึกษาที่ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพประยุกต์
ผลการศึกษาพบว่าในพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ที่เป็นกรณีศึกษาในแต่ละพิพิธภัณฑ์ได้นำไปสู่การสร้างกลไกในการสงวนรักษามรดกทางวัฒนธรรมด้วยตนเอง บทบาทของผู้สนับสนุนภายนอกมีผลต่อความเข้มข้นในการดำเนินกิจกรรมในการสงวนรักษามรดกทางวัฒนธรรม การเปลี่ยนแปลงในการสงวนรักษามรดกทางวัฒนธรรมเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาก่อนการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น การสงวนรักษามรดกทางวัฒนธรรมที่ชุมชนได้กระทำผ่านการขัดเกลาทางสังคม แต่เมื่อมีการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น
ที่มีกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน การสงวนรักษามรดกทางวัฒนธรรมจะเป็นกิจกรรมที่กระทำในเชิงรุกเพื่อสงวนรักษามรดกทางวัฒนธรรม
ABSTRACT:
Local Museums are important mechanisms in the preservation of the cultural heritage of local communities that developed from the pattern of accumulation of cultural objects to the form of the collective learning process. These patterns contributed in the process of establishing and operating local museums which led to links with community development in various issues as well as mechanisms to preserve the cultural heritage of local communities. The objective of this article is to compare the changes in the local community with regards to the dimension of cultural heritage conservation of communities in local museums (as case studies of a collective learning process in the operation) in the periods before the establishment of local museums, and after the establishment of local museums. The four museums that were used as case studies are; Ban Kao Yee-san Folklore Museum (Samutsongkram province), Muang Temple Folklore Museum ( Rachaburi province), Samchuk Life Museum (Suphanburi province) and Tai-Yuan Cultural Center (Saraburi province).