
กวามโตเมือง
KWAM TO MUANG: BLACK TAI CHRONICLES
โดย ทวีสว่าง ปัญญางกูร / By Thawi Swangpanyangkoon
Damrong Journal, Vol 9, No.1, 2010
บทคัดย่อ:
ในบทความนี้ขอเสนอการแปลตอนแรกของตำนานไทดำที่ลือชื่อ “กวามโตเมือง” ซึ่งตีพิมพ์ในสหรัฐอเมริกาโดยกลุ่มไทดำที่อพยพไปอยู่ในรัฐไอโอวา พิมพ์ด้วยอักษรไทดำที่มีเครื่องหมายวรรณยุกต์ด้วย “กวามโตเมือง” สำนวนนี้ต่างกับอีกบางสำนวนซึ่งเขียนใหม่ ตามความทรงจำโดยกลุ่มไทดำที่อพยพไปนอกประเทศเวียดนามและตีพิมพ์ไปแล้ว
ชาติไทดำเป็นกลุ่มชนที่พูดภาษาตระกูลไทกลุ่ม หนึ่งในประเทศเวียดนามตั้งถิ่นฐานอยู่ในจังหวัดเดี่ยนเบียนและจังหวัดเซินลาเป็นส่วนมากพวกเขามีระบบตัวเขียนของตนต่างกับเจ้าของประเทศคือคนเวียดนามที่ไม่มีอักษรประจำชนชาติ ต้องยืมอักษรจีนมาใช้นานนับพันปี
ในเวียดนามนักวิชาการเวียดนามได้รวบรวม ได้ประมาณ ๓๐ สำนวนของตำนานฉบับนี้ผู้เขียนเองก็มีอีกสำนวนหนึ่งสมบูรณ์กว่าสำนวนนี้คิดว่าจะแปลเป็นไทยในภายหลัง
สำนวน แปลเป็นไทยสำนวนนี้ผู้แปลได้ส่งให้คุณเกิ่มตร่องตรวจแก้ไปแล้วก่อนที่ท่านเสียชีวิตผู้แปลขอขอบพระคุณท่านที่ล่วงลับไปแล้วด้วยความเคารพอย่างสูง
ฟอนต์ภาษาไทดำภาษาเวียดนามและ IPA ที่ใช้ในบทความนี้เป็นผลงานออกแบบส่วนตัวของผู้เขียนซึ่งออกแบบ สิบกว่าปีมาแล้ว
ABSTRACT:
This article presents the translation of the initial chapters of a famous Black Tai chronicle: Kwam To Muang, from a book printed by the Black Tai Community in Iowa, USA. The Black Tai script, complete with tone markers, is significantly different from a previous version which was rewritten from memory by Black Tai migrants outside Vietnam.
Black Tai are an ethnic group living mostly in Dien Bien, Son La provinces, Vietnam, speaking a dialect of Tai. While the Vietnamese have used the Chinese script for over a millennium, the Black Tais originated their own script long ago.
Vietnamese scholars have already collected around thirty different versions of the Kwam To Muang chronicle; indeed this author has another significant version of the chronicle he plans to translate at a later date.
This translation was submitted to Mr. Cam Trong for review, who graciously corrected the first chapters before his death—the author wishes to express his sincere gratitude to the highly respected Black Tai scholar.
the Black Tai, Vietnamese and IPA fonts used in this article were created by the author more than a decade ago.