
คำเรียกญาติพื้นฐานของผู้พูดภาษาส่วย (กูย - กวย) ที่มีอายุต่างกัน
LANGUAGE CHANGE: A CASE STUDY OF SUAI
โดย ศศิธร นวเลิศปรีชา / By Sasitorn Nawalertpreecha
Damrong Journal, Vol 9, No.1, 2010
บทคัดย่อ:
ชาวส่วย (กูย - กวย) ในจังหวัดศรีสะเกษมีการใช้ภาษาอื่นๆ ในชีวิตประจำวันมากขึ้น เพราะชาวส่วยต้องใช้ภาษาต่างๆ ในการติดต่อสื่อสารกับบุคคลภายนอกกลุ่มชาติพันธุ์ของตนเอง จากกรณีดังกล่าวทำให้ชาวส่วยเป็นผู้รู้หลายภาษาและมีการใช้ภาษาสลับกันไปมา จนทำให้ภาษาต่างๆ นั้นมีอิทธิพลซึ่งกันและกัน ในงานวิจัยนี้ผู้วิจัยมุ่งศึกษาคำเรียกญาติพื้นฐานของผู้พูดภาษาส่วยที่มีอายุต่างกัน เพื่อวิเคราะห์ความหมายและระบบของคำเรียกญาติและวิเคราะห์ว่าคำเรียกญาติได้รับอิทธิพลจากภาษาใดจากการศึกษาความหมายและระบบคำเรียกญาติของผู้พูดที่มีอายุต่างกันพบว่า คำเรียกญาติของผู้พูดที่มีอายุมากและผู้พูดที่มีอายุน้อยมีมิติแห่งความแตกต่าง 5 มิติ คือ
รุ่นอายุ อายุ สายเลือด เพศ และฝ่ายพ่อ/แม่ เมื่อพิจารณาจำนวนของคำที่ใช้ในการเรียกญาติ พบว่า กลุ่มผู้พูดภาษาส่วยที่มีอายุมากและกลุ่มผู้พูดภาษาส่วยที่มีอายุน้อยมีการใช้คำเรียกญาติจำนวนแตกต่างกัน โดยคำเรียกญาติที่กลุ่มผู้พูดภาษาส่วย (กูย - กวย) ทั้งสองกลุ่มอายุใช้สามารถจำแนกได้เป็น 6 ลักษณะ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าคำเรียกญาติของผู้พูดภาษาส่วยทั้งสองกลุ่มได้รับอิทธิพลจากภาษาต่างๆ ได้แก่ภาษาเขมรมาตรฐาน เขมรสุรินทร์ ไทยมาตรฐาน ไทยถิ่นอีสาน ภาษาส่วย และคำประสมระหว่างภาษาส่วยและภาษาไทยมาตรฐาน โดยคำเรียกญาติของกลุ่มผู้พูดที่มีอายุมาก มีคำที่มาจากภาษาส่วยมากที่สุด น้อยที่สุดคือคำที่มาจากเขมรสุรินทร์ ส่วนคำเรียกญาติของกลุ่มผู้พูดที่มีอายุน้อย มีคำที่มาจากภาษาไทยบงมาตรฐาน มากที่สุด น้อยที่สุดคือคำที่มาจากภาษาเขมรสุรินทร์
นอกจากนี้ยังพบว่า ญาติในรุ่นอายุ - 2 สายข้างลงไปจนถึงรุ่นอายุ - 4 กลุ่มผู้พูดที่มีอายุมากใช้คำเรียกญาติที่มาจากภาษาไทยมาตรฐานปะปนกับคำเรียกญาติที่มาจากภาษาเขมรมาตรฐาน ส่วนกลุ่มผู้พูดที่มีอายุน้อยใช้คำเรียกญาติที่มาจากภาษาไทยมาตรฐานเท่านั้น
ABSTRACT:
Suai (Kui-Kuai) native speakers in Sisaket province are likely to increasingly speak other languages in their daily lives due to the requirement to communicate to non-Suai speakers. This situation causes multilingualism and unavoidable code-mixing behavior. This report studies Suai basic kinship terms (BKTs) of speakers in different age groups in order to analyze both the meaning and system of BKTs, as well as understanding the influence of other languages upon the Suai BKT system.
The results reveal that the Suai BKT system differs between the two age groups. Even though, the system in both age groups consists of 5 dimensions of contrast: Generation, Age, Linearity, Sex, and Parental Link, it is found that the BKT usage among Suai native speakers is actually different in 6 ways. It is possible that the Suai BKT system of those speakers is influenced by other languages, such as, Standard Khmer, Surin Khmer, Standard Thai, Northeastern Thai, Suai, and also the compound words formed from Standard Thai and Suai.
This study also shows that the BKTs of the old age group speakers are mostly derived from Suai, while the younger age group speakers mostly adopt terms from Standard Thai instead. However, both age groups seldom adopt terms in Surin Khmer. In addition, it was found that terms used two generation below EGO to four generation below EGO, in old age group speakers, are likely to use terms from Standard Thai and Standard khmer. In contrast, the young age group speakers only use those from Standard Thai.