
พิธีกรรมการฝังศพในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ : ความเชื่อและสถานภาพทางสังคม
PREHISTORIC MORTUARY PRACTICE : BELIEF AND SOCIAL STATUS
โดย ผสุดี รอดเจริญ / By Putsadee Rodcharoen
Damrong Journal, Vol 7, No.1, 2008
บทคัดย่อ:
จากการขุดค้นทางโบราณคดีในแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทย พบแหล่งโบราณคดีประเภทแหล่งฝังศพเป็นจำนวนมากทั่วทุกภาคของประเทศไทย โดยสามารถศึกษารูปแบบพิธีกรรมการปลงศพได้ดังนี้
ลักษณะการฝังศพ สามารถแบ่งรูปแบบได้ 3 รูปแบบคือ
1.การฝังศพครั้งที่ 1 (Primary Burial) เป็นการฝังศพแบบดั้งเดิม พบทั่วทุกภาคของประเทศไทย การฝังจะนำศพวางนอนในหลุม อาจจะวางศพนอนตะแคงงอเข่า หรือ นอนหงายเหยียดยาว การฝังศพลักษณะนี้จะพบกระดูกเรียงกันอย่างถูกต้องตามหลักกายวิภาค และพบเกือบทุกส่วนของร่างกาย นอกจากนี้ยังพบว่ามีการฝังศพเด็กทารก ตั้งแต่แรกกิด จนถึง 1 ปี หรือเด็กที่เสียชีวิตจากการแท้งนั้น จะนำร่างมาบรรจุในภาชนะดินเผา โดยอาจฝังพร้อมกับสิ่งที่อุทิศ หรือาจไม่มีเลยก็ได้
2.การฝังศพครั้งที่ 2(Secondary Burial) เป็นการนำกระดูกจาการฝังศพครั้งที่ 1ซึ่งฝังจนกระทั่งเนื้อเปื่อยหมดแล้ว บรรจุในภาชนะดินเผาขนาดใหญ่ จากนั้นจึงนำมาทพิธีอีกครั้ง การฝังศพลักษณะนี้จะพบกระดูกไม่ครบทุกส่วน มีเพียงกระดูกบ้างชิ้นใหญ่ หรือชิ้นที่มีความสำคัญเท่านั้น
3.การเผาศพ เป็นวิวัฒนาการที่สำคัญของชุมชนบ้านโบราณอีกระดับหนึ่ง เป็นการบ่งบอกถึงการเปลี่ยนแปลงรูแบบของพิธีกรรมดั้งเดิม และบ่งบอกถึงวิวัฒนาการของคนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่พัฒนาตนเองเช้าสู่สมัยหัวเลี้ยวหัวต่อประวัติศาสตร์
พิธีกรรมความเชื่อที่เกี่ยวเนื่องกับการฝังศพ พบว่ามีการเตรียมพื้นที่โดยขุดดินให้เป็นหลุมฝังศพ ที่มีความประมาณ 10-50 ซม.บางหลุมพบว่ามีการทุกบภาชนะดินเผาปูรองก่อนวางศพ หรือบางที่ทุบภาชนะดินเผาโรยทับบนศพ มีกรมัดห่อศพ หรือ มัดบางส่วน เช่น มือ เท้า มีการโรยดินเทศหรือวางก้อนดินเทศเอาไว้ ใกล้กับศพ และอุทิศสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ เช่น ภาชนะดินเผา เครื่องประดับ เครื่องมือ เครื่องใช้ เช่น วัว ควาย หมู ไก่ สุนัข ฯลฯ นอกจากนี้การพบสิ่งของบ้างชนิดเฉพาะเพศใดเพศหนึ่ง ก็แสดงออกถึงความเชื่อได้เช่นเดียวกัน
สถานภาพทางสังคม จากความหลากหลายและจำนวนของสิ่งของที่อุทิศให้กับศพ สามรถสันนิษฐานเบื้องต้นได้ว่า ศพที่พบของอุทิศจำนวนมากเป็นผู้ที่ได้รับความเคารพจากคนในชุมชน อาจเป็นผู้นำ หรือผู้ประกอบพิธีกรรมทางความเชื่อ หรือบางคนอาจเป็นเครือญาติของผู้ปกครองชุมชน แม้จะเสียชีวิตในวัยเด็กก็ได้รับการปฏิบัติที่พิเศษกว่าคนในวัยเดียวกัน
ABSTRACT:
Most evidence from the excavation of prehistoric archeology sites in Thailand comes from the burial sites. There are three types of Mortuary Practice , as follow
1.Primary Burial : This is the general type of mortuary practice that is found in every part of Thailand . They will bury the dead body by laying it down in a pit. Some bodies are turned face up and some are placed on their side. In the burial type, the human bones will be found laying anatomically correct. Sometimes dead infants are found buried in the pottery called burial jar.
2.Secondary Burial : This type brings some parts of the bones form the primary burial, and puts them in a big pottery jar for a ritual before being buried back in the pit.
3.Cremitions : This is the one of the most important evolutions of the ancient community that changed the traditional ritual. This evolution makes the change of a prehistoric community to historical community.
Archaeologists can study the social status of the skeletons from the Mortuary Practice. They study evidence found the excavation pit with the skeleton. If the burial pit has various artifacts, then they can assume that dead people would have had a good social status when they were still alive.