
ปราสาทแบบหลังคาลาดซ้อนชั้นในศิลปะรัตนโกสินทร์
RATANAKOSIN ART: MULTILAYER-ROOFED PRASADA
โดย สมโชค สินนุกูล / By Somchok Sinnugool
Damrong Journal, Vol 11, No.1, 2012
บทคัดย่อ:
แนวคิดในเรื่องของปราสาทนับเป็นแรงบันดาลใจอันสำคัญต่องานช่างในศิลปะไทย ทั้งในงานสถาปัตยกรรมและงานศิลปกรรมแขนงต่าง ๆ มานับแต่อดีตทุกยุคสมัย ปราสาทแบบเรือนยอดซึ่งมีเครื่องหลังคาที่ประกอบด้วยชั้นหลังคาลาดซ้อนชั้นเป็นปราสาทรูปแบบหนึ่งในศิลปะรัตนโกสินทร์ซึ่งมีพัฒนาการอันยาวนาน เกิดจากการลดรูปและการผสมผสานแรงบันดาลใจจากศิลปะในวัฒนธรรมใกล้เคียงเช่นศิลปะล้านนา โดยมีการคลี่คลาย ปรับปรุงจนเกิดระเบียบแบบแผนอันเป็นลักษณะเฉพาะ ปราสาทแบบเรือนยอดดังกล่าวยังคงเป็นรูปแบบที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในงานช่างแขนงต่าง ๆ มาจนถึงปัจจุบัน แต่กลับมีแนวโน้มจะให้ความสำคัญกับหน้าที่การใช้งานและประโยชน์ใช้สอยมากกว่าคติความหมาย ซึ่งเป็นแนวคิดอันเคร่งครัดของงานช่างโบราณตามแบบแผนประเพณี
ABSTRACT:
For many years, prasadas have been an important inspiration to Thai artists and architects. The spired roof structure is one kind of prasada prevalent in Ratanakosin art which has affected the development of concepts and styles of architecture until the present day. Its unique conventions have been considered improvements, adoptions and adaptations from neighbouring arts and cultures such as Lanna. Even though spired roof prasadas are the most famous and popular types in the modern day, their lines are in fact derived from traditional concepts.