
โบราณคดีครัวเรือนในพื้นที่กระทรวงพาณิชย์ (เดิม)
HOUSEHOLD ARCHAEOLOGY: THAI APPLICATION
โดย สฤษดิ์พงศ์ ขุนทรง / By Saritpong Khunsong
Damrong Journal, Vol 7, No.2, 2008
บทคัดย่อ:
โบราณคดีครัวเรือน เป็นอีกมุมมองหนึ่งในการศึกษาสภาพสังคมหรือพฤติกรรมของมนุษย์ในอดีต โดยถือกำเนิดขึ้นและได้รับความนิยมกันในหมู่นักโบราณคดีในแถบโลกตะวันตก วัตถุประสงค์หลักของโบราณคดีครัวเรือนคือ มุ่งศึกษาลักษณะของแหล่งที่อยู่อาศัย วิเคราะห์กิจกรรมต่างๆที่เกิดขึ้นในครัวเรือน รวมทั้งแปลความถึงโครงสร้างของครัวเรือน
บทความนี้นำเสนอเกี่ยวกับแนวคิดโบราณคดีครัวเรือน โดยพยายามนำแนวทางการศึกษาดังกล่าวมาเชื่อมโยงเข้ากับหลักฐานทางโบราณคดีที่พบในประเทศไทยโดยยกตัวอย่างข้อมูลจากการขุดค้นขุดแต่งแหล่งโบราณคดีภายในพื้นที่กระทรวงพาณิชย์ (เดิม) โดยภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร เมื่อ พ.ศ. 2549-2550 และทำให้ประจักษ์ได้ว่า แนวทางการศึกษาโบราณคดีครัวเรือนก็สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้กับงานโบราณคดีไทย
ABSTRACT:
Household archaeology is one method of studying the lifestyle of our ancestors. This type of archaeology originated, and has been extensively used, in the Western world. The goal of household archaeology is to study domestic sites in order to better understand the structures that our ancestors lived in, analyze their uses and the activities people performed in these households.
The article aims to adequately present the concepts and methodology of household archaeology in the Western world. It further attempts to link these ideas into Thai archaeological discoveries. A case study is presented of a recent (2006-2007) excavation by the Department of Archaeology at the former offices of the Ministry of Commerce. Thus, it can be seen that the western concept of household archaeology is also applicable, and can be suitably applied, to archaeology in Thailand.