
กำเนิดโลกในโองการแช่งนำ
BEGINNING OF THE WORLD IN ONGKAN CHAENG NAM
โดย รุ่งโรจน์ ภิรมย์อนุกูล / By Rungroj Piromanukul
Damrong Journal, Vol 11, No.1, 2012
บทคัดย่อ:
โองการแช่งนำเป็นวรรณคดีที่สำคัญเรื่องหนึ่งของลุ่มแม่นำเจ้าพระยา ในส่วนต้นของโองการนี้กล่าวถึงฉากการกำเนิดโลกใหม่ มีนักวิชาการหลายท่านตั้งประเด็นที่ว่า ฉากการกำเนิดโลกในโองการแช่งนำนำเนื้อหามาจากอคัญญสูตรและรวมไปถึงอรรถกถาอคัญญสูตรแต่อย่างไรก็ตามเรื่องราวการกำเนิดโลกมิได้จะมีปรากฏเฉพาะแต่ในอคัญญสูตรและอรรถกถาอคัญญสูตรเท่านั้น หากแต่ยังมีปรากฏในคัมภีร์วินัยฎีการวมถึงคัมภีร์โลกศาสตร์ที่รจนาขึ้นในสมัยหลัง พ.ศ. 1700
เมื่อพิจารณาจากรายละเอียดที่ปรากฏในโองการแช่งนำจะพบว่าเรื่องราวตอนนำมันปลาเจ็ดติดไฟจนกลายเป็นไฟบรรลัยกัลป์ และจากบทที่ว่า “ขุนแผนแรกเอาดินดูที่” ซึ่งหมายถึงพระพรหมลงมาดูศีรษะปฐพีมีปรากฏในคัมภีร์มหากัปปโลกสัณฐาน ซึ่งเชื่อว่ารจนาขึ้นในราว พ.ศ. 1550 - 1650
การที่เนื้อหาการกำเนิดโลกในโองการแช่งนำมีความสัมพันธ์กับคัมภีร์มหากัปปโลกสัณฐานจึงทำให้สามารถกำหนดได้ว่า ถ้าโองการแช่งนำจะมีอายุเก่ากว่าการสถาปนากรุงศรีอยุธยา ก็ไม่ควรที่จะมีอายุเก่าเกินไปกว่าพ.ศ. 1750 ซึ่งทั้งนี้ก็รับกับหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่กล่าวถึงผู้ปกครองเมืองลพบุรีเป็นพระโอรสพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (ครองราชย์ พ.ศ.1724 – 1764)
ฉากกำเนิดโลกใหม่ในโองการแช่งนำไม่ใช่มีวัตถุประสงค์ที่เล่าเรื่องการกำเนิดโลกใหม่ หากแต่มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะต้องยำว่าพระมหากษัตริย์ทรงสืบวงศ์มาจากองค์มหาสมมติ ซึ่งคติแนวคิดมีปรากฏในคัมภีร์ทีปวงศ์
อนึ่งการที่โองการแช่งนำเป็นโองการที่ใช้อ่านในงานพิธีกรรมที่ยำถึงความภักดี ก็จะหมายความต่อไปอีกว่ากลุ่มคนที่ใช้ภาษาตระกูลไท-ลาวจะมีอำนาจปกครองในแถบลุ่มแม่นำภาคกลางก็ควรที่จะอยู่ในช่วงหลัง พ.ศ.1750 โดยประมาณ
ABSTRACT:
Ongkan Chaeng Nam is one of the most important pieces of literature referencing the Chao Phraya Basin. The first part situates scenes of the beginning of the world; many scholars assume that this is taken from the Agabbasutta, including the Commentary of A gabba¬sutta, however, the scene is also mentioned in the Saratthadipani (Sub – commentary of Vinaya) and various cosmology literature composed after 1700 B.E. Another section from Onngkan Chaeng Nam, from ขุนแผนแรกเอาดินดูที่, details the “oil from the seven great fish which ignited and turned into a holocaust on doomsday” and refers to the scene from theMahakappalokasanthana where Brahma came down to see Sisapathavi, composed around 1550 to 1650 B.E. The way Ongkan Chaeng Nam relates to the Mahakappalokasanthana can be used to date Ongkan Chaeng Nam to a period before the Ayutthaya Kingdom, thus no older than 1750 B.E. This dating connects well with historical records of the King of Lopburi, a son of Jayavarman VII, (1724 – 1764 B.E.). The scene of the beginning of the world in Ongkan Chaeng Nam is not intended to refer to the beginning of the world itself, but rather to propagate the cult of the “God-King”, a concept taken from the Dipavajsa. Moreover, the use of Ongkan Chaeng Namin the oath of allegiance, as a device to inculcate society about royalty, can be considered as a vehicle to the Taikadai speaking people’s rise to power in the Central Thai basin sometime after 1750 B.E.