
การศึกษาเปรียบเทียบข้อผิดของนักเรียนไทยในการสร้างคำประสมภาษาอังกฤษ
A COMPARISON OF ERRORS OF THAI STUDENTS IN THE FORMATION OF ENGLISH WORDS
โดย พิมลพรรณ วงศ์อร่าม / By Phimonphan Wong-aram
Damrong Journal, Vol 10, No.2, 2011
บทคัดย่อ:
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งในงานวิจัยที่ศึกษาเปรียบเทียบข้อผิดในกระบวนการสร้างคำประสมภาษาอังกฤษที่เป็นคำยืมแปล กลุ่มตัวอย่างในจำนวน 60 คน คัดเลือดมาจากระดับคะแนนประสบการณ์ภาษาอังกฤษของนักเรียนไทยระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 จำนวน 330 คน โดยจำแนกนักเรียนไทยที่มีประสบการณ์ภาษาอังกฤษสูง และกลุ่มที่ประสบการณ์ภาษาอังกฤษต่ำ ข้อมูลที่ใช้ในงานวิจัยมาจากแบบทดสอบการสร้างคำประสมภาษาอังกฤษจากคำภาษาไทยที่เป็นคำยืมแปลจำนวน 80 คำ โดยไม่จัดกัดอัตราความเร็วในการนึกรู้คำ (Reaction time) ผลการวิจัยสรุปได้ว่า กระบวนการสร้างคำประสมภาษาอังกฤษที่มีความหมายเทียบเท่ากับคำประสมในภาษาไทยทีเป็นคำยืมแปลมีลักษณะของการสร้างคำที่มีความแตกต่างเป็นแนวต่อเนื่อง (Continuum) จากการ (Problem Avoidance Strategy) ซึ่งกลวิธีและข้อผิดในการสร้างคำประสมภาษาอังกฤษของกลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 กลุ่มมีความแตกต่างกัน นอกจากนี้กระบวนการการสร้างคำภาษาอังกฤษของนักเรียนกลุ่มต่ำแสดงให้เห็นถึงความจำกัดของคลังคำซึ่งนักเรียนไทยมีไม่เพียงพอจะใช้เพื่อนึกรู้คำ และเป็นกลุ่มที่ข้อผิดเกิดจากการถ่ายโอนภาษาแม่มากที่สุดผ่านทั้งทางรูปเขียนและมโนทัศน์ อย่างไรก็ตาม ผลการทดลองเสนอแนวคิดที่ว่า ผู้เรียนทวิภาษาที่มีประสบการณ์ภาษาอังกฤษสูงมีกลวิธีการสร้างคำประสมภาษา มีความหมายใกล้เคียงกับคำในภาษาอังกฤษมากกว่าและมีรูปแบบที่หลากหลายกว่า โดยใช้โครงข่ายทางความหมาย และมีระดับความถูกต้องตามไวยากรณ์ของรูปคำภาษาอังกฤษมากกว่า ครั้งนี้ไม่พบกลยุทธ์การเลี่ยงปัญหา ดังเช่นในกลุ่มที่มีประสบการณ์ภาษาอังกฤษต่ำ
ABSTRACT:
This article reports an experimental study that aimed at investigating compound of Thai students with different English language experiences in the formation of English compound words equivalent to Thai compounds. The data were collected from 60 students, selected from 330 first-year university students by their English language experience levels determined by the scores acquired from a language exposure questionnaire. There were 30 students in each group that had the highest and lowest English language experiences. The sample groups were required to construct 80 English compound words equivalent to Thai compounds which are borrowed loans. Reaction time was not investigated. The test results from the 2 sample groups demonstrated that the proficiency of L2 lexical access was related to learners L2 experiences. They also exhibited a continuum of English word formation strategies. The result from the low L2 group revealed that they had limited English lexical items in their lexicon. In addition, an avoidance strategy was used frequently in the low group. It was also found that L1 transfer was salient in the English formation patterns of the low L2 group, both in the conceptual and orthographical aspect. However, in bilinguals with high L2 experience, there was a large diversity of L2 compound word formation strategies with a high level of grammatical accuracy. The high group also used a semantic network, and no avoidance strategy was used, in contrast to the low L2 learners.