
การจัดการแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตภายในบ้านเขาทุเรียน ตำบลเขาพระ อำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก
KHAO DURIAN: MANAGING THE LIFELONG LEARNING CERTRE
โดย ปรมปณต แก้วนนท์ / By Paramapanot Kaewnon
Damrong Journal, Vol 9, No.2, 2010
บทคัดย่อ:
ปัจจุบันสังคมไทยให้ความสำคัญต่อการศึกษามากขึ้น แหล่งเรียนรู้รูปแบบต่างๆ เกิดขึ้นในสังคมมากมาย แต่ยังเป็นที่น่าสงสัยว่าแหล่งเรียนรู้เหล่านั้นเหมาะสมกับพื้นที่และความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นหรือไม่ รวมทั้งความรู้ที่ได้จากแหล่งเรียนรู้เหล่านั้น สามารถนำไปใช้ได้จริงหรือต่อยอดการอนุรักษ์ทรัพยากรทางวัฒนธรรมมากน้อยเพียงใด ซึ่งผู้เขียนเห็นว่าเป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการจัดการแหล่งเรียนรู้
บทความนี้มีวัตถุประสงค์นำเสนอผลการศึกษา เพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมในการจัดการแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตภายในบ้านเขาทุเรียน จังหวัดนครนายก โดยใช้ทรัพยากรทางวัฒนธรรม 2 ชุด ซึ่งรวบรวมและจัดทำฐานข้อมูลสำหรับเป็นสาระในการเรียนรู้คือ 1) ชุดข้อมูลทางประวัติศาสตร์และภูมิปัญญาท้องถิ่น 2) ชุดข้อมูลทางด้านโบราณคดี
การศึกษาพบว่า แนวทางที่เหมาะสมในการจัดการแหล่งเรียนรู้ในรูปแบบศูนย์การเรียนรู้ของชุมชนบ้านเขาทุเรียน ควรประกอบด้วยพื้นที่ 2 ส่วน คือ 1) อาคารศูนย์การเรียนรู้ของชุมชนบ้านเขาทุเรียน และ 2) พื้นที่จัดแสดงที่ตัวแหล่งโบราณคดีสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 และทรัพยากรธรรมชาติแวดล้อมแหล่ง โดยมีแผนปฏิบัติที่ได้เสนอไว้ด้วยเป็นแนวทางในการดำเนินงาน ที่มุ่งเน้นให้สามารถปฏิบัติได้และเกิดผลสำเร็จได้จริง
ABSTRACT:
Education is presently viewed as a very important component of Thai society, and new learning centers are developing across the nation. However, it is questionable whether the learning centers are in accordance with the needs of the local population, and whether the knowledge provided at the centers is applicable to real life and can lead to proper conservation of local cultural resources. The author believes that these questions must be considered when managing a learning centre.
The main objective of this article is to present the appropriate model for turning cultural resources in Ban Khao Durian, Nakhon Nayok, into a lifelong learning centre. The cultural resources can be classified into two knowledge groups: local wisdom and historical knowledge; archaeological knowledge, together they form the basic cultural database of the learning centre. This study proposes that the centre should comprise of two exhibition sections. The first section would comprise of an exhibition hall while the second section would be a site museum for studying Second World War history and archaeology, as well as local natural resources. A management plan is also proposed.