
การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างจ้วงกับไทยในมิติทางประเพณีวัฒนธรรมและความเชื่อ
A STUDY OF THE RELATIONSHIP BETWEEN THE ZHUANG AND THE THAI CULTURAL AND RELIGIOUS PERSPECTIVES
โดย ปรานี วงษ์เทศ / By Pranee Wongthet
Damrong Journal, Vol 5, No.2, 2006
บทคัดย่อ:
หากมองจากหลักฐานทางด้านโบราณคดีและภายใต้เงื่อนไขของสภานิเวศวิทยาวัฒนธรรมแล้ว ทั้งสังคมของชาวจ้วงที่อยู่ทางตอนใต้ของประเทศจีน และสังคมของชาวไทยต่างนับเนื่องเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ร่วมกันมาแต่อดีต คือเป็นสังคมชาวนาที่อยู่ในเขตมรสุม มีภาษา ประเพณี วัฒนธรรมโบราณที่คล้ายคลึงกันมาก (ก่อนการรับวัฒนธรรมจีน-อินเดีย เข้ามาผสมผสาน) เพราะนอกจากผู้คนจะพูดภาษาตระกูล ไทย-ลาว เหมือนกันแล้ว ยังมีประเพณีความเป็นอยู่ที่คล้ายคลึงกันหลายด้าน ตั้งแต่โครงสร้างทางสังคมที่มีการนับญาติทั้งสองฝ่าย การตั้งถิ่นฐานหลังแต่งงานอยู่กับทางฝ่ายแม่ การยกย่องเพศหญิง การมีวิถีชีวิตที่ผูกพันกับวัฒนธรรมข้าว การกินอาหารหมักดอง มีตำนาน ความเชื่อเกี่ยวกับขวัญ กลองมโหระทึก และพิธีกรรมเกี่ยวกับชีวิต, การทำมาหากินในสังคมเกษตรใกล้เคียงกัน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการมีความสัมพันธ์ติดต่อกันมาเป็นเวลาช้านาน อย่างไรก็ดีความคล้ายคลึงทางวัฒนธรรมทางวัฒนธรรมดังที่กล่าวมายังไม่อาจใช้เป็นข้อสรุปได้ว่า ชาวจ้วงซึ่งมีวัฒนธรรมเก่าแก่ยาวนานถึง 3,000 กว่าปี จะเคยเป็นบรรพบุรุษของคนไทยในประเทศไทยปัจจุบัน เนื่องจากกลุ่มคนต่างตระกูลภาษาและชาติพันธุ์อื่นๆ อีกมากมายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก็ล้วนมีลักษณะร่วมทางวัฒธรรมเช่นเดียวกับชาวจ้วงและชาวไทย วัฒนธรรมของทั้งชาวจ้วงและไทยจึงมีใช่ลักษณะเฉพาะของชนชาติแต่เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมมนุษย์ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ของภูมิภาคนี้ร่วมกันนั่นเอง
ABSTRACT:
This article attempts to propose that the Zhuang, a Tai-speaking people in Quznzi, Chinese civilizations. Situated in similar ecological settings, they shared many aspects of socio-cultural characteristics, namely the genesis myths, rice culture, fermented food, the Dong Son bronze drum, a belief in Khwan, the practice of life-crisis and agricultural rites and particularly the bilateral kinship system.
Despite all of this evidence, it would be misleading to conclude that the ancient Zhuang were once the ancestors of the Siamese since many other ethnic groups in this region also have similar cultural features. Instead, the relationship between the Zhuang and the Siamese only suggests shared patterns of Southeast Asian Culture.