
ธรรมดาวิสัยของความรุนแรงกับลักษณะปฏิทรรศน์ของสถานการณ์ทางการเมือง การปกครอง
NORMALITY OF VIOLENCE AND THE IMAGE OF A SOCIETY
โดย วิศรุต พึ่งสุนทร / By Visarut Phungsoondara
Damrong Journal, Vol 5, No.2, 2006
บทคัดย่อ:
ความรุนแรงมักถูกมองในแง่ของความทารุนโหดร้ายที่เห็นได้ ทั้งในแง่ปริมาณสถิติและในแง่ของความชัดเจนสำคัญทางประวัติศาสตร์ บทความนี้มุ่งไปที่รูปลักษณ์และภาพลักษณ์ของความรุนแรงที่ต่างออกไป เป็นความรุนแรงที่แสดงออกมาในลักษณะที่เป็นไปอย่างปกติธรรมดา ความรุนแรงในรูปแบบดังกล่าวนี้ไม่ได้แสดงออกในลักษณะของความโหดร้ายหรือสยดสยองจากเงื้อมมือมนุษย์ แต่แฝงอยู่ในความเป็น “ธรรมดาวิสัย” ที่แสดงออกมาในหลายๆ รูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นส่วนหนึ่งของวัฏจักรชีวิต เป็นไปตามตัวบทกฎหมาย เป็นส่วนหนึ่งของกลไกทางสังคม เป็นส่วนหนึ่งของการเสียสละทางสังคม เป็นไปตามอำนาจที่ถูกต้องชอบธรรมตามหลักศีลธรรม เป็นเหตุเป็นผลในแง่ของการบริหารจัดการ หรือเป็นความรุนแรงภายใต้สุนทรียภาพของความอ่อนไหวเร้าอารมณ์ ความสงบสุขกลมกลืนรื่นรมย์ ความรุนแรงที่มีลักษณธธรรมดาวิสัยดังกล่าวนั้นยากที่จะชี้ให้เห็น เพราะคามแยบยลในการสร้างภาพ โดยอาศัยการหยิบยืมรูปแบบทางภาษาและสัญลักษณ์ที่มาจากความปกติธรรมดา หรือแม้แต่การนำเอาองค์ประกอบในแง่บวกสำเร็จรูปที่มีอยู่แล้วกลับมาใช้ใหม่ การศึกษานี้จะใช้เป็นแนวทางต่อไปเพื่อทำความเข้าใจลักษณะปฏิทรรศน์ของความรุนแรง กับความเป็นธรรมดาวิสัยผ่านภาพลักษณ์ของสถานการณ์ทางการเมืองและสังคมไทยในปัจจุบัน
แนวคิดนี้ได้รับความสนใจขึ้นมาจากปรากฏการณ์ทางการเมืองและสังคมภายระบอบเผด็จการในหลายรูปแบบ และในหลายช่วงประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษาในขอบเขตเกี่ยวกับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในยุคนาซีเยอรมนีหรือโฮโลคอสต์(Holocaust studies) บทความนี้จะศึกษาถึงแนวคิดดังกล่าวในแง่มุมต่างๆ เช่นสังคมวิทยา ประวัติศาสตร์ วรรณคดีศึกษา และปรัชญา รูปแบบของความเป็นธรรมดาวิสัยเหล่านั้นได้แฝงมาซึ่งความรุนแรง หรืออาจจะเรียกได้ว่าเป็นความรุนแรง “สมัยใหม่” ตามอย่างนักวิชาการหลายท่าน เช่น Hannah Arendt, Zygmunt Bauman, Saul Friedlander และ Giorgio Agamben
ABSTRACT:
lmage of violence are often perceived as brutal and atrocious, whether qualitatively . This study aims at the understanding of a radically different or image of violence which is manifested as being normal or as parts of normality. This image of violence is perceived neither as apparently atrocious, brutally vicious nor as inflicted by a perpetrator. This kind of violence is concealed under the veil of the state of normality and ordinariness, which is masqueraded as unavoidable in the cycle of. Life, as parts of social mechanisms, as morally justified, licit, politically correct, organizationally rational, sensible, harmonious or even pleasingly sentimental. The notion of violence, which is masqueraded as normal and ordinary is a paradoxical one. It is thus difficult to identify or to be recognized as violence, perceived as vile and atrocious. This kind of violence is deceptively normal because of its complexities by rhetorically employing vocabularies or elements usually associated as being normal and ordinary, or by recycling the language usually recognized as morally and socially positive. This study argues for the understanding of the paradoxical image of the extremity of violence and the ordinariness of everyday life in the haze and ambivalence of the socio-political circumstances of present-day Thailand. The paradox of the normal and the extreme derives from attempts to understand the mechanisms of totalitarian regimes and to make sense of life under such conditions, particularly from the area of holocaust studies. This study concerns the notion through the aspects of sociology, historical studies, modern literature and philosophy from the works of Hannah Arendt, Zygmunt Bauman, Saul Fried lander and Giorgio Agamben.