
ฐาน "บัววลัย" ในวัฒนธรรมทวารวดี : ที่มา ความหมาย และความสัมพันธ์ทางด้านรูปแบบจากอินเดียสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
PEDESTAL WITH A “ VALAI” MOULDING IN DAVARAVTI ART : ORIGIN, CONCEPT AND RELATIONSHIP BETWEEN INDIA AND SOUTH EAST ASIA
โดย ศักดิ์ชัย สายสิงห์ / By Sakchai Saising
Damrong Journal, Vol 4, No.2, 2005
บทคัดย่อ:
ฐาน “บัววลัย” เป็นชื่อเรียกฐานอาคารที่พบอยู่ในวัฒนธรรมทวารวดี ได้แก่ ฐานบัวที่มีการประดับลวดบัวเป็นลูกแล้วขนาดใหญ่เรียกว่า “วลัย” ซึ่งหมายถึงวงแหวนหรือกำไล ลักษณะของฐานดังกล่าวนี้สามารถเทียบได้กับฐานอาคารประเภทหนึ่งในงานศิลปะอินเดียโดยเฉพาะในอินเดียภาคใต้ที่นิยมประดับลูกแก้วขนาดใหญ่ลักษณะเดียวกันเรียกว่า “กุมุท” หมายถึงบัวตูมที่กลมป้อน ด้วยเหตุนี้เองจึงสันนิษฐานว่าฐานบัววลัยในวัฒนธรรมทวารวดีน่าจะมีที่มาจากอินเดียใต้ และมีความสัมพันธ์ทางด้านรูปแบบกับศิลปกรรมที่พบอยู่ในช่วงระยะเวลาเดียวกันในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 12-16 ได้แก่ ศิลปะชวาภาคกลาง (ในประเทศอินโดนีเซีย) ศิลปะจาม(ในประเทศเวียดนาม) ศิลปะเขมรสมัยเมืองพระนคร (ในประเทศกัมพูชา) และศิลปะศรีเกษตรและพุกาม (ในประเทศพม่า) ในงานช่างไทยพบอยู่เฉพาะในวัฒนธรรมทวารวดีเท่านั้นหลังจากสมัยนี้แล้วจะพบฐานบัวอีกประเภทหนึ่งเรียกว่า “ฐานบัวคว่ำ-บัวหงาย” เข้ามาแทนที่
ABSTRACT:
A “Bua Valai” pedestal (or pedestal with a “Valai” moulding) is the name of a type of base from the Dvaravati period (“Valai” means bracelet) used to support a building. This sort of base can be compared with those found in India, especially Southern India. Ancient Southern Indian artisans preferred to decorate bases with a convex moulding called “Kumuda” (meaning a lotus bud in the shape of a bulb). Thus, the author proposed that the beases used in Dvaravati art might have been inspired by Southern India art was influenced by arts from the other South East Asian Kingdoms of the 12 - 16 centuries B.E. such as middle Javanese (in Indonesia), Pre-Angkorian Period Khmer art (in Cambodia) and Sri Kasetra as well as Pagan art (in Myanmar). However, it is also found that the pedestals with “Valai” moulding were only popular during The Dvaravati period; after this epoch, bases consisting of overturned and upturned lotus mouldings were preferred