
ธรณีโบราณคดีที่ราบเจ้าพระยาตอนล่าง : การศึกษาเบื้องต้นจากข้อมูลโทรสัมผัส
GEOARCHAEOLOGY OF LOWER CHAO PRAYA PLAIN : PRELIMINARY STUDY FROM REMOTE SENSING
โดย ชวลิต ขาวเขียว, ทิวา ศุภจรรยา / By Chawalit Khaokhiew
Damrong Journal, Vol 4, No.2, 2005
บทคัดย่อ:
บทความนี้เป็นการศึกษาเพื่อประยุกต์ใช้องค์ความรู้ทางด้านโลกศาสตร์ ธรณีวิทยา เพื่อนำมาศึกษาทางด้านธรณีโบราณคดี ในพื้นที่ที่ราบเจ้าพระยาตอนล่าง โดยจะมุ่งเน้นการศึกษาสภาพธรณีสัณฐาน ธรณีแปลสัณฐานยุคใหม่ และการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำทะเลในอดีตทั้งนี้ข้อมูลนำเสนอในบทความนี้ในบทความนี้เป็นการสรุปรวบรวมข้อมูลเบื้องต้น และการแปลความข้อมูลเบื้องต้นจากข้อมูลโทรสัมผัส เช่นรูปถ่ายทางอากาศ ภาพจากดาวเทียม จากการศึกษาพบว่า แนวชายฝั่งทะเลเดิมมีทีตั้งตำแหน่งสัมพันธ์กับที่ตั้งเมืองโบราณโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมืองในสมัยทวารวดี ซึ่งมีความเชื่อมโยงกันโดยรอบอ่าวไทย จากข้อมูลดังกล่าวในอนาคตผู้เขียนมีความมุ่งหวังเป็นอย่างยิ่งที่จะทำการศึกษาลงไปในรายละเอียด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการกำหนดอายุที่แน่นอนของแนวชายฝั่งและเมืองโบราณ โดยวิธีทางวิทยาศาสตร์ เช่น AMS Dating, TL Dating และ OSL Dating เพื่อให้องค์ความรู้ในเรื่องดังกล่าวให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
ABSTRACT:
The researchers applied an integrated geoscientific approach to interpret the geoarchaelogy af the Lower Chao Praya Plain especially pat sea level changes. This paper preliminary study taken from remote sensing equipment. Old shorelines of several places around the Gulf of Thailand have been delineated by assessing data derived from aerial photography. Landset imagery and topographical maps Results of preliminary studies indicate that a shoreline existed in relative position to the location of an ancient site found within the same area. Most of the ancient sites have been identified as belonging to the Davaravti Period. In future studies, the researchers will apply AMS, TL and OSL Dating to correlate the age of ancient sites and old shorelines. This tentative theory of correlation is beneficial to the study of geoarchaeology , quarternary geology, neotectonic and the changing sea levels around the Lower Chao Praya Plain.