
หรหมหน้าเดียว
ONE-FACED BHRAMA
โดย รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง / By Rungroj Thamrungraeng
Damrong Journal, Vol 4, No.2, 2005
บทคัดย่อ:
คติความเชื่อเกี่ยวกับพระพรหมในศาสนาพราหมณ์กับศาสนาพุทธมีความแตกต่างกันในหลายประการ หนึ่งในนั้นได้แก่จำนวนพระพักตร์ ศาสนาพราหมณ์ถือกันว่าพระองค์มีสี่พักตร์ ส่วนพุทธศาสนามิเคยระบุเช่นนั้นเลย แต่กระนั้นพระพรหมในพุทธศาสนากลับทำสี่พักตร์เช่นกัน ซึ่งเข้าใจว่าได้รับอิทธิพลจากพระพรหมในศาสนาพราหมณ์นั่นเอง อย่างไรก็ตาม เมื่อตรวจสอบในพระพรหมในพุทธศาสนาจากศิลปกรรมยุคต่างๆของไทยพบว่า พระพรหมพักตร์เดียวก็มีให้เห็นเช่นกัน เป็นต้นว่าพระพรหมในศิลปะทวารวดีซึ่งทรงเครื่องอย่างนักบวช พระพรหมในศิลปะธนบุรีและรัตนโกสินทร์ ซึ่งทรงเครื่องอย่างเทวดา สะท้อนให้เห็นว่ารูปลักษณ์เดิมของพระพรหมในพุทธศาสนาก็ยังเป็นที่รับรู้ของพุทธศาสนิกชนบางกลุ่ม แม้จะน้อยกว่ารูปลักษณ์ของพระพรหมในศาสนาพราหมณ์มากก็ตาม
ABSTRACT:
There are various distinctive differences between the beliefs related to the god Bhrama in Bhramanism and those of Buddhism. Among them is the number of faces; in Bhramanism, Bhrama is believed to have four faces, while there is no evidence of this in Buddhism. However, one can notic that in Buddhist art Bhrama is always shown with four faces. This feature might have been inspired by the figures of Bhrama in Bhramanism. Navertheless, from the research on the Bhramanic figures frome various periods of Thai art, the auther discovered one faced Bhramas. Examples include Bhrama dressed in a priestly outfit of the Dvaravati period and Bhma divinely dressed during the Thonburi and Rattanakosin period. This reflects that while one-faced Bhramas of Buddhism have been accepted by some groups of Buddhists, they remain less popular than the four-faced ones.