
เพลงกล่อมเด็กกับขนมแชงมา
A STUDY OF THE THAI LULLABY “CHANG MAA”
โดย อุดม พรประเสริฐ / By Udom Pornprasert
Damrong Journal, Vol 4, No.2, 2005
บทคัดย่อ:
สืบเนื่องจากเพลงกล่อมเด็กซึ่งมีเนื้อร้องว่า โอ้ละเห่ โอละหึก ลุกขึ้นแต่ดึกทำขนมแชงมา ผัวก็ตีเมียก็ด่า ขนมแชงมาคาหม้อแกง ทำให้ผู้เขียนต้องทำการค้นคว้าเรื่องนี้ว่าขนมแชงมาคือขนมอะไร มีลักษณะอย่างไร และคำว่าแชงมาหมายความว่าอย่างไร หลังจากศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลจากเอกสาร และการสัมภาษณ์ผู้รู้จำนวนมากพบว่าขนมแชงมามีผู้แสดงทัศนะไว้3ทาง คือ กลุ่มที่หนึ่ง มีความเห็นว่า ขนมแชงมาคือขนมปลากริมไข่เต่า กลุ่มที่สอง มีความเห็นว่า ขนมแชงมาคือข้าวเหนียวต้มน้ำตาล กลุ่มที่สาม มีความเห็นว่า ขนมแชงมาเป็นขนมหม้อแกงที่ทำจากข้าวเหนียว สำหรับผู้ศึกษาค้นคว้า สรุปว่าขนมแชงมามี2ประเภท คือ ประเภทที่หนึ่ง ขนมแชงมาแบบชาวบ้าน คือข้าวเหนียวต้มน้ำตาล หรือข้าวเหนียวเปียก ประเภทที่สอง ขนมแชงมาแบบชาววัง คือขนมหม้อแกงที่ทำด้วยข้าวเหนียว ส่วนคำว่าแชงมาสันนิษฐานว่า เป็นคำที่เพี้ยนมาจากภาษาฝรั่งเศสจากคำว่า Cheval (เชอวัล) และเป็นขนมที่ชาวฝรั่งเศสเรียกแทนนาม ท้าวทองกีบม้า เพื่อให้เกียรติผู้คิดค้นขนมชนิดนี้ ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยา ต่อมาคนไทยน่าจะลากเสียงจากเชอวัล มาเป็นแชงมา
ABSTRACT:
The purpose of this study is to discover what kind of this dessert “Chang Maa” is as well as it meaning. There is a Thai lullaby which goes : “ Oh La Hae Oh La Teuk (non meaning words)/get up early to prepare Chang Maa dessert/ the husband beats , the wife scold the Chang Maa is left in the pot.” (The last word can dually interpreted as either a pot used to prepare curry or a dessert called Morkaeng. ) After searching through various documents and interview relevant experts, the finding can be categorized as follows : Chang Maa is a dessert called Pla Krim Khai Tao nowadays ; Chang Maa is sticky rice cooked in syrup ; Chang Maa is Morkaeng made of sticky rice The writer has concluded that there are two kinds of Chang Maa. The first is sticky rice cooked in syrup, and the second is a type of royal cuisine called Morkaeng that is made of sticky rice. As for the meaning of Chang Maa , it must have been adapted from the French word “Chaval”. This name is used to honor the creator, Thao Thong Keep Maa, a female chef during the reign of King Narai the Great.