
ศรีรามเทพนคร : สร้อยนามหรือชื่อเมือง
SRI RAMADEBA NAGARA
โดย ศานติ ภักดีคำ / By Santi Pakdeekham
Damrong Journal, Vol 4, No.2, 2005
บทคัดย่อ:
“ศรีรามเทพนคร” เป็นชื่อที่ปรากฏอยู่ในศิลาจารึกสมัยสุโขทัย 2หลัก คือ ศิลาจารึกหลักที่2 (วัดศรีชุม) และศิลาจารึกหลักที่11 (จารึกวัดเขากบ) จากการศึกษาพบว่าจารึกวัดศรีชุมกล่าวถึง “ศรีรามเทพนคร” โดยไม่กล่าวถึง “อโยธยา” แสดงว่า “ศรีรามเทพนคร” น่าจะเป็นชื่อเมือง ไม่น่าจะเป็นชื่อสร้อยนามของ “อโยธยา” จากการศึกษาตามเส้นทางการเดินทางของพระมหาเถรศรีศรัทธาฯ เมืองศรีรามเทพนครน่าจะตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเมืองอโยธยา เมือง “ศรีรามเทพนคร” น่าจะได้แก่เมือง “นครพระราม” ตามจารึกวัดส่องคบ ในกฎหมายตราสามดวงปรากฏชื่อ “นครพระราม” เป็นราชทินนามของเจ้าเมืองลพบุรี เมือง “นครพระราม” ก็น่าจะเป็นอีกชื่อหนึ่งของ “เมืองลพบุรี” นอกจากนี้การที่ศิลาจารึกวัดเขากบระบุว่า “ศรีรามเทพนครที่ศรพิรุณาสตรงบาดาล” ก็สอดคล้องกับตำนาน “ทะเลชุบศร” ของเมืองลพบุรี ดังนั้น “ศรีรามเทพนคร” ในจารึกวัดศรีชุมและจารึกวัดเขากบจึงน่าจะเป็นเมืองเดียวกับ “นครพระราม” ซึ่งหมายถึง เมือง “ลพบุรี” ในสมัยอยุธยาตอนต้นนั่นเอง
ABSTRACT:
This article is based on the fragmentary inscriptional evidence of the Sukhothai and Ayudhaya periods. What is “Sri rammdeba Magara”? This name has been found in two Sukhothai inscription : Sri Chum and Wat Khao Kop. “Sri Ramadeba Nagara” is not found in the inscription in the Ayudhaya period ; However in the “Wat Song Khop” inscription, the name “Nagara Bhra Rama” has been observed. It was concluded in this study that the two names “Sri Ramadeba Nagara” and “Nagara Bhra Rama” referred to the same city. The name “Nagara Bra Rama” was the title conferred by the King on the governor of Lopburi province in the Ayudhaya period. Thus, “Sri Ramadeba Nagara” and “Nagara Bhra Rama” are, in fact, old names of Lopburi province.