
ภาพพุทธประวัติสมัยคันธาระ
SCENES FROM THE LIFE OF THE BUDDHA IN GANDHARA ART
โดย จิรัสสา คชาชีวะ / By Jirassa Kachachiva
Damrong Journal, Vol 5, No.1, 2006
บทคัดย่อ:
ภาพสลักเล่าเรื่องพุทธประวัติมีมาแล้วตั้งแต่สมัยอินเดียโบราณ (สมัยพระเจ้าอโศก) โดยการใช้ภาพสัญลักษณ์แทน ต่อมาในสมัยคันธาระเมื่อมีการสร้างพระพุทธรูปขึ้น ภาพพุทธประวัติก็เป็นที่นิยมเช่นกันโดยมักประดับอยู่ตามศาสนสถานและฐานพระพุทธรูป ภาพเหล่านี้คงสร้างขึ้นตามคัมภีร์ที่มีอยู่ในขณะนั้นซึ่งนอกจากคัมภีร์ภาษาบาลีแล้วคัมภีร์ภาษาสันสกฤตที่เป็นที่นิยม ได้แก่ คัมภีร์มหาวัสดุ ลลิตวิสตระ และมหากาพย์พุทธจริต ภาพสลักพุทธประวัติสมัยคันธาระมีความน่าสนใจที่เน้นในรายละเอียดของเนื้อเรื่องซึ่งบางตอนไม่เป็นที่นิยมในภาพสลักหรือภาพเขียนในสมัยก่อนๆมา การศึกษาภาพสลักเหล่านี้ นอกจากจะให้ภาพของสังคมวัฒนธรรมในสมัยนั้นแล้ว การศึกษาโดยเทียบเคียงกับคัมภีร์ที่กล่าวมายังอาจทำให้ภาพเกี่ยวกับลัทธิศาสนาและความเชื่อที่เริ่มคลี่คลายไปในช่วงนั้นชัดเจนขึ้นด้วย
ABSTRACT:
Narrative scenes from the life of Buddha, according to the Pali texts had appeared in symbolic from since Asoka's time in the 3rd century B.c. around the 2nd century A.D, in Gandhara art style when the first Buddha images were created, stone reliefs from the life of the Buddha were commonly found. These scenes were narrated in the well-know Sanskrit texts of that period ( Mahavastu Lalitavistara or Buddha Carita) , and were decorated on part of stupas or on the bases of Buddha images. Some scenes might not be found in later period because their popularity waned. The comparative study of these works and texts helps us to know not only the cultural society but also the religious cult and the beliefs that clearly evolved in that period.