
ข้อสันนิษฐานว่าด้วย “ตัว” กับ “ตน”
AN ASSUMPTION ON WORDS “ตัว” [TUA] AND “ตน” [TON]
โดย เมธาวี ยุทธพงษ์ธาดา / By Methawee Yuttapongtada
Damrong Journal, Vol 11, No.2, 2012
บทคัดย่อ:
คำว่า “ตัว” และ “ตน” เป็นคำที่มีความหมายคล้ายคลึงกันมาก พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๔๙๓ ได้ระบุที่มาของคำว่า “ตน” และ “ตัว” ว่าเป็นคำภาษาไทย แต่ผู้เขียนสนใจว่าทั้งสองคำเป็นคำไทยแท้หรือไม่ และตั้งข้อสันนิษฐานว่าเดิมในภาษาไทยคงมีคำว่า “ตัว” ใช้อยู่เดิม และรับคำว่า “ตน” มาจากคำว่า “ตนุ” [ tanu ] ซึ่งเป็นภาษาบาลีสันสกฤต ผู้เขียนจึงได้รวบรวมข้อมูลจากพจนานุกรมสมัยต่าง ๆ เอกสารสมัยสุโขทัย ได้แก่ จารึก และไตรภูมิพระร่วง ภาษาไทถิ่น และภาษาอื่น ๆ และได้พบว่าคำว่า “ตัว” และ “ตน” มีใช้มาตั้งแต่สมัยสุโขทัย คำว่า “ตน” นั้น มีปรากฏเป็นจำนวนมาก เนื่องจากเนื้อหาในจารึกทุกหลักยกเว้นจารึกหลักที่ ๑ และไตรภูมิพระร่วง เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับศาสนา และจากการศึกษาภาษาไทถิ่นอื่น ๆ พบว่า มีคำว่า “ตัว” แต่ไม่พบข้อมูลคำว่า “ตน” นอกจากนี้ผู้เขียนยังได้หาหลักฐานจากภาษาเขมรเพิ่มเติมพบว่า ภาษาเขมรมีคำว่า “ขฺลวน” หมายถึง ตัว ร่างกาย และมีคำว่า “ตนุ” ใช้ด้วย จึงเป็นหลักฐานสนับสนุนว่า “ตน” มาจาก “ตนุ” และมีการเปลี่ยนแปลงทางเสียงในภาษาไทย สอดคล้องกับที่ขุนวิจิตรมาตรา (๒๕๑๑:๑๒๑-๑๒๓) ได้ตั้งข้อสันนิษฐานว่า คำว่า “ตน” มาจากภาษาบาลีสันสกฤต คือ คำว่า “ดนู”
ABSTRACT:
The meanings of words “ตัว” [tua] and “ตน” [ton] resemble very much. The Royal Institute Dictionary B.E. 2493 identifies sources of the both as Thai Words. It is interested to seek that are both the original Thai words? As presumed, there may be the word [tua] used in Thai language before and the word [ton] may has afterwards been received from the word “ตนุ”[tanu] derived from Pali-Sanskrit. The writer collected data from Dictionaries in different periods including documents in Sukhothai period namely; inscriptions, Trai Phum Phra Ruang, Tai Dialects and other languages and finally the word [tua] and [ton] used since Sukhothai period have been found explicitly. The word [ton] have been used in Sukhothai period and it has obviously been found in many evidences due to the contents in inscriptions, excepting King Ramkhamhaeng’s inscription No.1 and Trai Phum Phra Ruang, dealt mainly with the religious essences. As studied other Dialects, the word [tua] has implicitly been found, but the word [ton] have not been found at all. Furthermore, the additional evidences are derived from Khmer that there is the word “ขฺลวน” [khluan] meaning body as well as the word [tanu] to use. Such the words are regarded as the evidences in order to support the word [ton] came from [tanu] and then there are sound changes in Thai language, which corresponded to the presumption as given by Khun Wijitramatra (Sa-Nga Kanchanapan) (2511:121-123) that the word [ton] derived from Pali-Sanskrit is recognized as the word “ดนู”[Danu].