
หนังสืออนุสรณ์งานศพ :พื้นที่แห่งความทรงจำ (ที่ถูกเลือก)
THE CREMATION VOLUME : THE SITE OF MEMORY (THAT CHOSEN)
โดย อนรรฆ พิทักษ์ธานิน / By Anuk Pitukthanin
Damrong Journal, Vol 6, No.1, 2007
บทคัดย่อ:
จารีตการจัดทำหนังสืออนุสรณ์งานศพในสังคมไทยเป็นสิ่งใหม่ที่เพิ่งได้รับความนิยมเมื่อไม่ถึง 100 ปีท่านมานี้ โดยได้ขยายตัวจากชนชั้นสูงมาสู่ชนชั้นต่างๆในสังคมภายใต้ความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีการพิมพ์ หนังสืออนุสรณ์งานศพในปัจจุบันได้มีความเปลี่ยนแปลงไปมากจากอดีต อาทิ ความหลากหลายของเนื้อหาที่บรรจุอยู่ภายใน
แต่ถึงอย่างไรก็ตามสิ่งหนึ่งที่ดูเหมือนจะไม่มีความเปลี่ยนแปลงไปจากอดีตมากนักคือจารีตของการเขียนประวัติของผู้ตาย และคำไว้อาลัยแก่ผู้ตาย ที่บรรจุอยู่ภายในหนังสืออนุสรณ์งานศพเกือบทุกเล่ม จากรีตดังกล่าวนี้ได้สะท้อนให้เห็นแง่มุมและกรอบคิดอะไรบางอย่างที่ดำรงอยู่ในสังคมไทย ตลอดจนจารีตการเขียนดังกล่าวก็ได้เป็นสิ่งที่นำไปสู่การสร้างรูปแบบความทรงจำที่มีต่อผู้ตายของผู้อ่านตัวบทด้วยเช่นเดียวกันในแง่หนังสืออนุสรณ์งานศพจึงมีนัยยะของสิ่งต่างๆที่มิได้เผยให้เห็นโดยตรงแฝงอยู่
ABSTRACT:
The custom of making memorial book in the funeral has been favored since less than 100 years ago. It has expanded from the upper class to the others in the society, according to the development of publishing technology. In the present, the funeral memorial book is different from the one in the past in many aspects, for example; the variety of inside stories etc.
However, one thing does not seem to change is the custom of writing the autobiography of the person passing away and the memorial speech which are in almost every memorial books. These customs reflect some part of thoughts in Thai society and they are also the memory of readers toward the person passing away, Therefore, in this aspect, the memorial book contains much significance/ that is not shown directly.