
การตรวจชำระคัมภีร์ปัญจคติทีปนี
A CRITICAL EDITION OF PABCAGATIDIPANI
โดย รุ่งโรจน์ ภิรมย์อนุกูล / By Rungroj Piromanukul
Damrong Journal, Vol 6, No.2, 2007
บทคัดย่อ:
คัมภีร์ปัญจคติทีปนี (ความรู้แห่งทางทั้ง 5) เป็นบทประพันธ์ฉันท์ปัฎฐวัตรจำนวน 114 บท แบ่งออกเป็น 5 กัณฑ์ คือ นรกกัณฑ์ เปตกัณฑ์ เดรัจฉานกัณฑ์ มนุสสกัณฑ์ และ สัคคกัณฑ์
คัมภีร์นี้แต่เดิมเป็นวรรณคดีภาษาสันสกฤต มีชื่อว่า บัฑคติการิกา จากตามข้อในศิลาจารึกที่พบในพม่ากล่าวว่า พระสัทธัมมฆาสเถระ เป็นผู้ประพันธ์ แต่แท้ที่จริงแล้วท่านเป็นเพียงแค่ผู้แปล แปลจากสันสกฤต สันนิษฐานว่าแปลในรัชกาลพระเจ้าอนิรุทธมหาราชกษัติริย์สมัยเมืองพุกาม
คัมภีร์นี้แต่เดิมเป็นวรรณคดีภาษาสันสกฤต มีชื่อว่า บัฑคติการิกา จากตามข้อในศิลาจารึกที่พบในพม่ากล่าวว่า พระสัทธัมมโฆสเถระ เป็นผู้ประพันธ์ แต่แท้ที่จริงแล้วท่านเป็นเพียงแค่ผู้แปล แปลจากแปลจากสันสกฤต สันนิษฐานว่าแปลในรัชกาลพระเจ้าอนิรุทธมหาราชกษัตริย์สมัยเมืองพุกาม
ในการตรวจชำระครั้งนี้ ผู้ชำระครั้งนี้ ผู้ชำระใช้ต้นฉบับตัวเขียนที่เก็บรักษาอยู่ในหอสมุดแห่งชาติ จำนวน 5 ฉบับ และใช้คัมภีร์ปัญจคติทีปนีฎีกา คัมภีร์มหาวิปาก ซึ่งต้นฉบับอยู่ในหอสมุดแห่งชาติอย่างละ 2 ฉบับ (ทั้งนี้เพราะคัมภีร์ 2 ได้นำฉันท์ในปัญจคติทีปนีมาอธิบาย) อีกทั้งคัมภีร์ษัฑคติการิกา ที่ ศ.มุส ตรวจชำระ ในการสอบเทียบผลจากการชำระพบว่า ในฉบับภาษาบาลีมีพัฒนาการ 3 ช่วง
เมื่อแรกแปลภาษาสันสกฤตมาเป็นบาลี คัมภีร์นี้มีชื่อ ฉคติทีปนี (ความรู้แจ้งแห่ภพทั้ง 6) ต่อมาในช่วงพัฒนาการที่สองของคัมภีร์ได้ยุบอสูรกายพิภพโดยให้กาลัญชิกาสูรไปรวมกับพิภพเปรต และ เวจิตตาสูรไปรวมกับพิภพสวรรค์ ซึ่งลักษณะเช่นนี้เป็นอิทธิพลทางความคิดจากคัมภีร์กถาวัตถุปกรณ์ ผลงานของพระโมคคลีปุตตติสส ดังนั้นจึงทำให้ต้องเปลี่ยนชื่อมา เป็นปัญจคติทีปนี ส่วนพัฒนาการชั้นสุดท้ายได้เพิ่มฉันท์บทที่ 5 และพบว่าต้นฉบับที่ใช้ในการชำระเป็นพัฒนาการขั้นสุดท้าย
ABSTRACT:
Pabcagatidipani or "Illustration of the Five Realms of Existence" is a piece of verse called Patthayavattachanda, which is divided into five kandas (sections) and consists of 114 verses. This text was translated from Sadgatikarika, a well known Buddhist Sanskrit verse, describing the rebirth of creatures in five realms: narakas (hells), petas (ghosts), tiracchanas (animals), manussas (human) and saggas (heavens).
According to an inscription found in Myanmar, the composer of Pabcagatidipani was Saddhammaghosa. However, it appears that this text was not written but instead translated by him, presumably during the reign of King Aniruddha in the Pagan Period.
This critical version has been edited by using five copies of Pabcagatidipani manuscripts from the Bangkok National Library as the main document, and compared with copies of Pabcagatidipanitika, two copies of Mahavipaka or "the second version commentary of Pabcagatidipani" and Sadgatikarika (Prof. Mus edited.).
From the study, it is suggested that three periods of development can be distinguished in the Pali version. Originally, it was translated into Pali and named Chagatidipani or "Illustration of the Six Realms of Existence". Later, in the second development, the concept of Kalabjakasura (a kind of monster) was included in Peta's realm and Vepacitti-asura (a fallen angel) was also integrated into the realm of heaven. These were apparently influenced by Kathavtthupakarana of Moggaliputtatissa; hence, the name was changed to "Paiicagatidipani". In the last development, the filth verse which is similar to Jinalavkalatika was added. As a result, the copies of Paiicagatidipani manuscripts from the Bangkok National Library would have been composed in the last period of development.