
อดีต ปัจจุบัน อนาคตของมานุษยวิทยากายภาพในประเทศไทย
PAST,PRESENT, AND FUTURE OF PHYSICAL ANTHROPOLOGY IN THAILAND
โดย นัทธมน ภู่รีพัฒน์พงศ์ / By Natthamon Pooreepatpong, Rasmi shoosongdej,
Damrong Journal, Vol 6, No.2, 2007
บทคัดย่อ:
บทความนี้ทบทวนและประมวลสถานภาพของความรู้ด้านมานุษยวิทยากายภาพในประเทศไทย จากอดีต ปัจจุบัน ไปจนถึงทิศทางของการพัฒนาสาขาวิชานี้ส่วนของประวัติพัฒนาการของการศึกษามานุษยวิทยากายภาพ แบ่งออกเป็น 3 ช่วงคือสมัยบุกเบิก (พ.ศ. 2504 – 2514) สมัยการพัฒนานักมานุษยวิทยากายภาพชาวไทย (พ.ศ. 2515 – 2525) และสมัยปัจจุบัน (พ.ศ. 2525 – 2549) ส่วนสถานภาพของความรู้นั้นแบ่งงออกเป็น 3 ประเด็นคือ ความรู้เกี่ยวกับวิวัฒนาการของมนุษย์ ประชากรโบราณและประชากรปัจจุบัน “คนไทย” ในส่วนของความรู้ด้านวิธีวิทยาของการศึกษาด้านนี้แบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ คือทางกายภาพ ประกอบด้วยวิธีการศึกษาด้วยตาเปล่า และ การประยุกต์ใช้ในเทคโนโลยีทางการแพทย์ และ วิธีวิทยาทางชีวภาพ ประกอบด้วยการศึกษาดีเอ็นเอโบราณ ไอโซโทป และ การวิเคราะห์ทางด้านพันธุศาตร์นอกจากนี้จะวิพากษ์ในเรื่องปัญหาอุปสรรคของการพัฒนา หรือ การเติบโตของมานุษยวิทยากายภาพในประเทศไทย
ABSTRACT:
This article reviews the degree of knowledge of Thailand's physical anthropology during the past, present and in the future. From an historical perspectiye, development of physical anthropology can be divided into the pioneer period (1961-1971), the development of Thai physical anthropology (1972-1982), and the present period (1982-2006). Research is categorized into human evolution, and ancient and modem population studies. In terms of methodology, two major areas are examined: gross study and applied medical techniques, and bio-technology, such as ancient DNA, isotope analysis, genetic studies, etc. Finally, this article discusses the problems of personal development in Thailand.