
พระตรีมูรติ/พระสทาศิวะ? จากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
TRIMURTI /SADASIVA? STATUE FROM BANGKOK’S NATIONAL MUSEUM
โดย เอกสุดา สิงห์ลำพอง / By Eksuda Singlampong
Damrong Journal, Vol 8, No.1, 2009
บทคัดย่อ:
ศาสนาฮินดูภายในอาณาจักรกรุงศรีอยุธยามีรากฐานสำคัญมาจากอาณาจักรเขมรโบราณที่เคยเจริญรุ่งเรื่องอยู่ก่อนหน้า คติความเชื่อ พิธีกรรมทางศาสนา รวมถึงรูปแบบศิลปะของรูปเคารพเทพเจ้าฮินดูแต่ละองค์ จึงเป็นแหล่งบันดาลใจสำคัญต่อการสร้างประติมากรรมรูปเคารพเทพเจ้าฮินดูในศิลปะอยุธยาผสมผสานกับรสนิยมท้องถิ่น
ในรูปเคารพของเทพเจ้าฮินดูอันเป็นประเด็นการศึกษาในครั้งนี้ มีการตีความเบื้องต้นว่าเป็นพระตรีมูรติ รูปแบบการรวมกันของเทพเจ้าสูงสุดทั้ง 3 องค์ของศาสนาฮินดู รูปเคารพดังกล่าวเป็นประติมากรรมศิลปะอยุธยาที่ยังคงสะท้อนอิทธิพลจากศิลปะเขมรอย่างชัดเจน อย่างไรก็ตาม รูปเคารพองค์นี้มีรูปแบบและประติมานวิทยาที่ใกล้เคียงกับพระสทาศิวะ รูปแบบหนึ่งของพระศิวะ (พระอิศวร) ที่พบในศิลปะเขมรเช่นกัน
ABSTRACT:
Hinduism during the Ayutthaya Period can trace its roots all the way back to the Ancient Khmer Empire. The Ayutthaya system of beliefs, ceremonies and style of art (especially images of the Hindu Gods) are a mixture of Ancient Khmer influences and local progressions.
Specifically, the Ayutthaya art image known as Trimurti (a combination form of three supreme Hindu gods which I use as a case study, and are exhibited at Bangkok’s national museum) is a style of art which strongly reflects the influence of Khmer art. It should be noted, however, that the style and appearance of this image is not a complete facsimile of the original Ancient Khmer example, because its iconographical illustration is more akin to another form of Siva (Isvara), known as Sadasiva, which is also highly visible in Khmer art.