
ลัทธิอนาคตวงศ์ : พุทธศาสนาประชานิยมยุคต้นรัตนโกสินทร์
THE CULT OF ANAGATAVAMSA: POPULAR EARLY BANGKOK PERIOD BUDDHISM
โดย ศรัณย์ ทองปาน / By Saran Thongpan
Damrong Journal, Vol 8, No.2, 2009
บทคัดย่อ:
ในช่างต้นสมัยรัตนโกสินทร์ มีหลักฐานระบุในพระราชพงศาวดาร ว่ามีการเผาตัวตาย เพื่อมุ่งหมายการตรัสรู้ในพุทธศาสนาสองราย คือนายบุญเรือง (หรือเรือง) ในปี พ.ศ. 2333 และนายนก ในปี พ.ศ. 2360 แต่จากหลักฐานร่วมสมัย ปรากฏว่าในช่วงใกล้เคียงกันนั้น ยังมีบุคคลอื่นที่เผาตัวตายด้วยวัตถุประสงค์ทางศาสนาอีกอย่างน้อยสองราย เป็นสามเณรและนางชี รวมทั้งมีบันทึกถึงความนิยมในการเชือดเนื้อเอาเลือดมาเป็นน้ำมันจุดตะเกียง หรือเอาดาบแทงตัวเอง เพื่อบูชาพระพุทธเจ้าก็มี โดยผู้ที่กระทำเช่นนี้ มีตั้งแต่ระดับชาวบ้าน นักบวช ไปจนถึงสมาชิกชั้นสูงในพระราชวงศ์
เรื่องทำนองนี้อาจดู “นอกรีต” ในสายตาพุทธศาสนิกชนยุคปัจจุบัน ทว่าอย่างน้อยในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ การกระทำเช่นนี้เป็นสิ่งที่ยอมรับได้ และถือเป็นกรณียกิจอันควรยกย่อง
ที่มาของการบูชา “ด้วยเลือดด้วยเนื้อ” เหล่านี้ น่าจะมาจากความเชื่อที่แพร่หลายเกี่ยวกับพระพุทธเจ้า 10 พระองค์ที่จะมาตรัสรู้ในอนาคต ดังที่ระบุไว้ในคัมภีร์ อนาคตวงศ์ เรื่องราวของพระอนาคตพุทธเจ้าใน อนาคตวงศ์ นั้น ล้วนแล้วแต่บำเพ็ญกุศลอย่างเด็ดขาดรุนแรง เช่นตัดศีรษะ หรือเผาศีรษะของตัวถวายเป็นพุทธบูชา
เรื่องราวเหล่านี้ อาจสร้างมาตรฐานและเป็นต้นแบบของการนับถือพุทธศาสนาในยุคนั้น ในระดับที่ถือเป็น “ลัทธิ” ได้เลยทีเดียว เราอาจเรียกลัทธินี้ตามนามของคัมภีร์สำคัญได้ว่าเป็น “ลัทธิอนาคตวงศ์” ซึ่งเป็นพุทธศาสนาประชานิยมในยุคต้นสมัยกรุงเทพฯ ก่อนที่จะถูกเบียดขับและทำให้ลืมเลือน ด้วยกระแส “เหตุผลนิยม” ของพุทธศาสนา “สมัยใหม่” เช่นธรรมยุติกะนิกาย ที่เฟื่องฟูขึ้นตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 25 เป็นต้นมา
ABSTRACT:
The Royal Chronicles from the early Rattanakosin (Bangkok) period recount stories of self-immolation as an offering, for the sake of enlightenment, from two Buddhists at the Temple of Dawn (Wat Arun) in Thonburi. One was Nai Bunrueang (or Rueang) in 1790 and the other was Nai Nok in 1817. As their self-sacrifice was regarded as a sign of virtue, carved stone images (depicting Nai Rueang and Nai Nok) and stone inscriptions describing their stories were later erected at the temple in commemoration of the two devotees.
Within other contemporary documents, from the early Bangkok period, records of two further cases of self-immolation appear. These cases, of a novice and a nun, detail the seemingly popular practice of devotional offerings of “flesh and blood” as a “Buddha Puja” among “hardcore” devotees; by cutting their flesh to draw blood to use as lamp fuel, or stabbing themselves with a sword.
Although, from the point of view of “modern” Thai Buddhists, this kind of extreme self-sacrifice and self-mortification is absolutely non-Buddhist, it was a meritorious practice and example of heroic deeds during the early Bangkok period.
The main source of inspiration for these devotees could have been the Anagatavamsa which is the Pali canon describing the heroic and severe self-sacrifices offered by the ten Future Buddhas-to-be. Their deeds included: giving away their children to feed hungry ogres, and cutting or setting ablaze their heads as an offering to the Buddha of the Past.
The stories of the “flesh and blood” self-sacrifices consequently became archetypes for the practices and traditions of buddhism, informally named here as the ‘Cult of Anagatavamsa’, whose characteristics were extreme self-sacrifice of the Future Buddha-to-be on one hand, and the sole, deep respect for Maitreya, the next Future Buddha on the other.
The Cult of Anagatavamsa might be considered as popular Buddhism from the early Bangkok Period which may have started in the late Ayutthaya period (18th century), though banished and “marginalized” in 1850’s by the “modern” and “rational” Buddhism of the Dhammayutika Nikaya under the royal patronage of King Mongkut, Chakri Dynasty (r.1851-1868). It’s considered that Thai Buddhism since the reign of King Mongkut has helped to erase the memory of the Future Buddha-to-be, even the Maitreya himself, from today’s “official” and “national” Buddhism.