
แหล่งผลิตเครื่องปั้นดินเผา พระนครศรีอยุธยา
AYUTTHAYA CERAMIC PRODUCTION DURING THE 15TH TO 18TH CENTURIES
โดย ภัคพดี อยู่คงดี / By Pakpadee Yukongdi
Damrong Journal, Vol 9, No.1, 2010
บทคัดย่อ:
กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีไทยระหว่าง พ.ศ. ๑๘๙๓ – ๒๓๑๐ รวมเวลาถึง ๔๑๗ ปี ในช่วงเวลาดังกล่าวอยุธยาดำรงฐานะศูนย์กลางทางการเมืองการปกครอง ศูนย์กลางทางการเมืองการปกครอง ศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การค้าที่มีชื่อเสียงของภูมิภาคเอเชียและของโลก ความยิ่งใหญ่ของอยุธยามีหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีรองรับ ตลอดจนโบราณสถานและแหล่งโบราณคดีจำนวนมากแสดงให้เห็นถึงความสำคัญ และความยิ่งใหญ่ของกรุงศรีอยุธยาในอดีต รวมทั้งเรื่องการผลิตเครื่องปั้นดินเผาอันแสดงให้เห็นถึงสามารถในการผลิตสิ่งของเครื่องใช้สำหรับชุมชนได้เอง แสดงถึงความรู้ ความเจริญด้านเทคโนโลยี ซึ่งเป็นพื้นฐานในการพัฒนาบ้านเมืองไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองของอยุธยา
ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๖๓ เรื่องกรุงเก่า ในบท “พรรณนาภูมิสถานพระนครศรีอยุธยา”ซึ่ง ชีวิตความเป็นอยู่ของชาวกรุงศรีอยุธยาที่อยู่สองฝั่งแม่น้ำลำคลองมีแหล่งบ้านที่ผลิตเครื่องมือเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันของชาวอยุธยา ว่าในบริเวณสองฝั่งคลองสระบัวเป็นแหล่งผลิต หม้อดิน เตาเชิงกราน กระเบื้องมุงหลังคาและตุ๊กตาดินเผา
การศึกษาทางโบราณคดีสามารถระบุได้ว่า แบ่งพื้นที่การผลิตเป็น ๒ พื้นที่ใหญ่ๆ คือ พื้นที่ริมคลองสระบัวด้านทิศตะวันออก บริเวณวัดครุธาราม เป็นแหล่งผลิตเครื่องปั้นดินเผาประเภทประเภทโอ่งหรือที่เรียกกันว่าโอ่งนางเลิ้งหรืออีเลิ้งประติมากรรมรูปคน รูปสัตว์ และพื้นที่ริมคลองสระบัวด้านทิศตะวันตก ตั้งแต่ปากคลองสระบัวด้านทิศเหนือลงมาจนถึงหน้าวัดจงกรม เป็นแหล่งผลิตกระเบื้องมุงหลังคาอาหาร กระเบื้องเกล็ดเต่า-ตัวผู้และตัวเมีย กระบเองชายพับกระเบื้องกาบกล้วย มีทั้งกระเบื้องตัวผู้-ตัวเมีย กระเบื้องเชิงชาย เป็นต้น
หลักฐานสำคัญที่ยืนยัน คือการค้นพบเตาเผาเครื่องปั้นดินเผา ที่มีรูปทรงและเทคนิคการเผาหลากหลาย โดยมีรูปแบบเตาหลายรูปแบบ ได้แก่ การเผาแบบเปิด คือเผากลางแจ้งไม่มีการสร้างเตา, เตารูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดความกว้าง ยาว ประมาณ ๓.๕๐ x ๔ เมตร ก่ออิฐเว้นช่องใส่ไฟตามด้านยาวของเตาด้านละ ๔ ช่อง เป็นแนวตรงกัน พบร่องรอยของเถ้าตามแนวของช่องใส่ไฟ ลักษณะการเผาของเตานี้เป็นการระบายความร้อนในแนวดิ่ง (updraft) อาจกล่าวได้ว่า เตาเผากระเบื้องนี้เป็นรูปแบบที่เก่าแก่ และเป็นที่รู้จักมาก่อนหน้าที่จะมีการสร้างเตาเผากระเบื้องขึ้นใช้ในอยุธยา สัมพันธ์กับสภาพพื้นที่หรือคลองสระบัว ซึ่งเป็นคลองที่ขุดขึ้นในช่วงสมัยอยุธยาตอนต้น ทั้งนี้น่าจะเริ่มมีการตั้งเตาเผาในพื้นที่ประมาณต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๑ การสำรวจทางชาติพันธุ์วิยาพบว่า ลักษณะเตาเผาในระยะแรกที่พบในบริเวณคลองสระบัวมีความคล้ายคลึงกับเตาที่ใช้ในการเผาอิฐและกระเบื้องที่ยังมีใช้งานอยู่ในพื้นที่เมืองปัตตานี แสดงถึงความเชื่อมโยงหรือการส่งถ่ายวิธีการและเทคโนโลยีการผลิตในสองพื้นที่นี้อย่างชัดเจน ความสัมพันธ์ของกรุงศรีอยุธยากับปัตตานีนั้นยังมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์มากมายที่สามารถยืนยันความเกี่ยวข้องกันได้ในหลายลักษณะและหลายระดับ
ในระยะเวลาต่อมาวิวัฒนาการของรูปแบบเตาและวิธีการเผาเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เป็นรูปคล้ายเรือท้ายตัด ตัวเตาก่อด้วยอิฐ ด้านท้ายก่ออิฐเป็นประทุนสำหรับใส่ไฟ จากการขุดค้นทางโบราณคดี พบว่าผู้ผลิตกระเบื้องในสมัยอยุธยา ได้รับรู้เทคโนโลยีการเผาเครื่องปั้นด้วยการใช้เตารูปแบบใหม่ เพื่อวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มปริมาณการผลิตให้มากพอกับความต้องการ หรือ การขยายตัวทางเศรษฐกิจของอยุธยาที่เพิ่มขึ้น ลักษณะการเผาเครื่องปั้นด้วยการใช้เตารูปแบบใหม่ เพื่อวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มปริมาณการผลิตให้มากพอกับความต้องการ หรือ การขยายตัวทางเศรษฐกิจของอยุธยาที่เพิ่มขึ้น ลักษณะการเผาด้วยเตาเผาแบบนี้เป็นการเผาโดยใช้ความร้อนผ่านตามแนวนอน (cross draft) ซึ่งเป็นเทคนิควิธีที่ได้รับอิทธิพลการเรียนรู้จากจีน ซึ่งมีการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเครื่องปั้นดินเผาคุณภาพดีมาก่อนหน้าหลายร้อยปี และด้วยความสัมพันธ์ที่มีอย่างแนบแน่นของชาวจีนทำให้เชื่อได้ว่าชาวจีนมีบทบาทสำคัญในการถ่ายทอดความรู้ในการผลิตเครื่องปั้นดินเผาในกับกลุ่มชนที่ทำการผลิตเครื่องปั้นอยู่เดิมด้วยเช่นกัน ทั้งนี้น่าจะพัฒนาปรับเปลี่ยนรูปแบบเตาเผาในพื้นที่ประมาณปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๒
อย่างไรก็ตามการเกิดขึ้นหรือการเปลี่ยนแปลงนั้น ก็เนื่องมาจากภาวะของอุปสงค์ที่เพิ่มมากขึ้น โดยมีเหตุมาจากความเจริญรุ่งเรืองของเมือง ความต้องการใช้วัสดุก่อสร้างของผู้ปกครองเพื่อสร้างอาคารถาวรวัตถุไม่ว่าจะเป็นการขยายตัวของวังของพระมหากษัตริย์ในระยะเวลาต่างๆ หรือการสร้าง ขยายวัดวาอารามทั้งในและนอกเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยาด้วยนั่นเอง
ABSTRACT:
The objective of this research is to study ceramics and describe the process of Ayutthaya ceramic production from the Klong Sra Bua and Klong Bang Koad kiln sites, Phra Nakhon Si Ayutthaya. Research has mapped, though archaeological and ethnographic data, the development and changes of Ayutthaya ceramic manufacture, and identified cross-cutural regularities and variavilities in producted by the Department of Fine Arts’ excavation team, between 1999-2002, at the Klong Sra Bua and Klong Bang Kuad kiln sites, Phra Nakhon Si Ayutthaya. Other studies in clude: comtemporary ceramic ethnographical observations and surveys in related regions ( especially Pattani province, southern Thailand), the Far-east, Middle-east, and the Indian subcontinent.
The hypothesis to be tested is whether some ceramic manufacture of Ayutthaya period learnt from experienced potters, who taught the next generation through traditional methods, and where the sudden change in process of ceramic manufacture in Ayutthaya Klong Sra Boa and Klong Bang Kuad Kiln sites derived. For example, the primarily kiln firing cross- cultural potters, and later app;ied to generate products which matched their own styles, behavior and environment.
A comparative study was conducted with typological classifications of the archaeological excavation records. Ethnological data was then applied to interpret archaeological data for ceramic production, with the core results listed below: Ayutthaya ceramic production was located on both banks of the Klong Sra Bua, located north of the island city, around the second half of the 15th century A.D. Initially, they produced mainly architectural meterials, especially tiles; probably on royal demand.
The ceramic makers were experts in oblong updraft kiln firing techniques and settled on the western bank of the canal, conducting their trade for more than a hundred years. Later, a need for architectural materials forced them to embrace a new kiln technology; a semi dome draft kiln, introduced by the main Chinese ethnic groups who settled in Ayutthaya and also featured prominently in court and commerce. This technique was applied throughout the later period of Ayutthaya, dating from the first half of 17th century until the 18th century; the decline of the Ayutthaya Kingdom.
Apart from architectural materials, various earthen potteries were also produced. Another ethnic group settled on the eastern bank of Klong Sra Bua whose open bonfire techniques were typically practiced to make storage vessels and pots that served as kitchenware.