
ชื่อบ้านนามเมืองภาษามลายูในคาบสมุทรภาคใต้ของไทย
Malay Language Used in Local Names in the Southern Thai Peninsula
โดย ประพนธ์ เรืองณรงค์ / By Prapon Reungnarong
Damrong Journal, Vol 14, No.1, 2015
บทคัดย่อ:
คำว่า “มลายู” มีหลายความหมายด้วยกัน โดยเป็นชื่อกลุ่มคนที่ครั้งหนึ่งเคยอาศัยอยู่ในแถบเมืองปาเลมบังทางตอนใต้ของเกาะสุมาตรา รวมทั้งเป็นชื่อเมืองอันเป็นถิ่นที่อยู่ของชาวมลายู เช่น เมืองยัมบี และเมืองมินังกาเบา กลุ่มคนเหล่านี้ต่อมาได้ข้ามทะเลไปยังคาบสมุทรมลายู ดังนั้นคำว่า “มลายู” จึงอาจหมายถึง “ผู้ข้ามฝั่งหรือผู้ข้ามฟาก” ในขณะที่คาบสมุทรมลายูในสมัยโบราณนั้นมีชื่อเรียกว่า “สะคะรามาเซ็ม” ซึ่งแปลว่า “ทะเลน้ำเค็ม” คำว่า “สะคะรา” หรือ “สาคร” นั้นหมายถึง “ทะเล” ในภาษาสันสกฤต ส่วน “มาเซ็ม” เป็นคำมลายูหมายถึง “รสเค็ม”
ดินแดนที่กลุ่มคนเหล่านี้ไปตั้งรกรากถูกเรียกว่า “อุยงตนะ” ซึ่งแปลว่า แผ่นดินปลายแหลม โดยคำว่า “อุยง” นั้นอาจแปลได้ว่า “ปลายแหลม” ส่วน “ตนะ” คือ “แผ่นดิน” เมื่อสองคำมารวมกันจึงมีความหมายถึงคาบสมุทรมลายูนั่นเอง อันที่จริงแล้วชาวมลายูไม่ใช่ประชากรกลุ่มแรกในดินแดนนี้ แต่มีประชากรกลุ่มอื่นๆ อาศัยอยู่ก่อนแล้ว เช่น เซมัง, ซาไก และชาวเลหรือชาวน้ำ ซึ่งภาษามลายูเรียกว่า “โอรังลาอุต” เป็นพวกที่ลงเรือเร่ร่อนเหมือนยิปซีทะเล
ภาษามลายูจัดอยู่ในตระกูลภาษามลาโย-โพลีนีเซียน และเป็นภาษาคำติดต่อ (agglutinative) บทความนี้ยังได้กล่าวถึงความแตกต่างระหว่างภาษามลายูกลางกับภาษามลายูถิ่น (เช่น ภาษามลายูที่พูดในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย) เอาไว้ด้วย นอกจากนี้ยังมีการศึกษาและวิเคราะห์ที่มาของชื่อบ้านนามเมืองในภาษามลายูถิ่นใต้ทั้งในด้านภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และคติชาวบ้าน สิ่งเหล่านี้ทำให้เห็นว่า ภาษามลายูมีความสำคัญในแง่ของการศึกษาและการติดต่อสัมพันธ์ระหว่างประชาชนในจังหวัดชายแดนใต้ของไทยกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนที่ใช้ภาษามลายูในการสื่อสาร
ABSTRACT:
The word “Malay” can have many meanings including the name of the people who once lived in Palembang in southern Sumatra, such as in Jambi or Minangkabau. These people had crossed the sea to the area which later became known as the Malay Peninsula. Thus, “Malay” can mean “strait crosser”, and in the Malay language a peninsula is called “Segara Masem,” which means “salty sea”. “Segara” or “Sakorn” denotes “body of water” or “sea” in Sanskrit (sâgara) while “Masem” stands for “salty” in the Malay language.
The land they settled in is called “Ujung Tanah” which means “land with a pointed end”. “Ujung” can be translated to “pointed end” while “Tanah” denotes “land”. Together, these words mean the Malay Peninsula. Malays were not the first people to occupy the Malay Peninsula as there were other groups, such as Semang, Sakai, the Sea people or Chao Ley, and Orang Laut, also known as the Sea Gypsies.
The Malay language has the following characteristics: it is categorized into the Malayo-Polynesian language family and as an agglutinative language. The difference between Central Malay and the local Malay languages (such as the Malay language in the southern Provinces of Thailand) has also been mentioned. Furthermore, the local names in the Malay language in the south were studied and analyzed for the geographic, historic and folkloric origins. These studies show that the Malay language is important in the education and communication between the people of southern Thailand and those of the ASEAN countries which use this language as a means of communication.