
ไม่เห็นคุณค่าก็กลายเป็นถังขยะ: บทวิเคราะห์คุณค่าหอไตรล้านนา
Not realizing its value turns it into a garbage bin: An analytical approach to Lanna Hortrai
โดย ศิริศักดิ์ อภิศักดิ์มนตรี, สถาพร จันทร์เทศ, ธนิกานต์ วรธรรมานนท์ / By Sirisak Apisakmontree, Sathaporn Chantade, Taninarn Worathammanon
Damrong Journal, Vol 14, No.2, 2015
บทคัดย่อ:
หอไตรเป็นธรรมเจดีย์ที่ชาวล้านนาโบราณให้ความเคารพนอบน้อมอย่างสูงสุด ร่องรอยการสร้างสถานที่เก็บคัมภีร์ในล้านนา ซึ่งอาจหมายถึงหอไตรหรือหีบธรรมก็ได้ ปรากฏมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๗ สมัยหริภุญไชย เมื่อเข้าสู่สมัยราชวงศ์มังรายปกครองล้านนา จึงปรากฏหลักฐานเกี่ยวกับการสร้างหอไตรครั้งแรกในสมัยพระเจ้าติโลกราช (พ.ศ. ๑๙๘๔ – ๒๐๓๐) เมื่อสร้างหอไตรแล้ว มักมีประเพณีถวายหอไตรพร้อมสิ่งของมีค่าต่างๆ รวมถึงที่ดิน ผู้คน ไว้กับวัด เรียก “การเวนทาน” การสร้างหอไตรนั้น เชื่อกันว่าได้อานิสงส์ผลบุญเทียบเท่ากับการที่พระพุทธเจ้าสร้างสมโพธิสมภารเป็นโพธิสัตว์ในอดีตชาติ ทั้งนี้องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมของหอไตรที่ต่างออกไปจากศาสนสถานประเภทอื่น ทำให้เชื่อได้ว่าการสร้างหอไตรมีขึ้นเพื่อให้เป็นสถานที่เฉพาะสำหรับพระธรรม มีนัยหมายถึงการเป็นหนึ่งเดียวกับพระไตรปิฎก และยังพบว่าหอไตรบางหลังถูกสร้างขึ้นให้เป็นสถานที่รักษาไว้ซึ่งไตรสรณคมน์ คือ พระพุทธรูป พระธรรม และพระสงฆ์ เมื่อคนปัจจุบันสมัยไม่เข้าใจในจุดประสงค์การสร้างของคนโบราณสมัย ก็เปลี่ยนแปลงรูปแบบหอไตรให้เป็นดั่งวิหาร อุโบสถ ใช้ประโยชน์จากหอไตรไปในลักษณะห้องสมุด ที่พัก หอฉัน และอื่นๆ ประกอบกับการไม่สามารถเข้าใจตัวอักษรธรรมล้านนาที่จารในใบลานซึ่งถูกเก็บไว้ในหอไตรได้แล้ว หอไตรจึงหมดประโยชน์ไปในที่สุด คลายสถานะจากการเป็นศาสนสถานศักดิ์สิทธิ์ บรรจุไว้ซึ่งคัมภีร์สูงสุดในพุทธศาสนาเป็นถังขยะใบใหญ่ เก็บของเหลือใช้ในวัด มรดกอันทรงคุณค่านี้จึงเต็มไปด้วยหยากไย่และมูลนก และผุพังไปตามกาลเวลา
ABSTRACT:
A Hortrai is a Dhamma Chedi which the Lanna People highly respected in days gone past. The history of building a place to keep scriptures (Hortrai/Dhamma chest) can be traced back to the 12th AD in the Haripunchai period. During the time of the Mang Rai dynasty, evidence of the building of Hortrai in Lanna was first found in the inscriptions and manuscripts during the reign of King Tilokaracha (1441 – 1487).
After a Hortrai was built, a piece of land and some people were given to the temple in a gesture known as a 'Wentaan'. It was believed that building a Hortrai was a positive gesture and as such was undertaken to make merit in much the same way as the Lord Buddha did in his previous lives. This resulted in the accumulation of Palami and lead to one becoming a Bodhisattava.
A Hortrai had different architectural elements which the Lanna people borrowed from other religious buildings. It had no steps, had a narrow corridor, small windows and a door which was sometimes hidden. It was believed that the Hortrai was the place kept specifically for the Dhamma and was not meant to be disturbed. It was also considered to be a part of the Triple Gem.
When one wanted to pay homage to a Hortrai, he/she would place incense sticks, a candle, and some flowers on an altar outside the Hortrai. A Hortrai was representative of one who maintained the Threefold Refuge (Tri-saranagomana) which comprises of Buddha, Dhamma, and Sangha.
Nowadays, people don’t understand the purpose of building a Hortrai and, because of this, they have changed the design so that it is similar to that of a Vihara and an Ubosoth. These changes have also resulted in the Hortrai being used as a library, a living chamber, or a dining hall, etc. Unfortunately, in the modern era, along with the inability to read the scriptures, the Hortrai has generally become a functionless temple library used for storing unused temple items.