
สถาปัตยกรรมอิทธิพลตะวันตกในเมืองเพชรบุรี
Western Architecture in Phetchaburi
โดย ภัสภรณ์ ชีพชล / By Pasaphorn Cheepchol
Damrong Journal, Vol 15, No.2, 2016
บทคัดย่อ:
ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเมืองเพชรบุรีเป็นเมืองที่มีความสำคัญอย่างเด่นชัด โดยแสดงออกผ่านทางการสร้างพระราชวังและพระตำหนักที่ประทับขึ้นในเมืองเพชรบุรี โดยพระราชวังและพระตำหนักที่สร้างขึ้นเป็นสถาปัตยกรรมตะวันตกมีช่วงเวลาที่ไล่เลี่ยกันกับการก่อเกิดสถาปัตยกรรมตะวันตกในกรุงเทพฯ เมื่อตะวันตกเป็นภาพที่ใช้แทนการก้าวสู่สมัยใหม่และความทันสมัย การที่พระมหากษัตริย์สยามมีพระราชดำริโปรดเกล้าฯ ให้สร้างสถาปัตยกรรมอิทธิพลตะวันตกในประเทศไทย จึงเป็นหนึ่งในเครื่องหมายที่สะท้อนให้เห็นถึงการเปลี่ยนผ่านความคิดในกรอบของโลกทัศน์แบบจารีตสู่การมองโลกแบบสมัยใหม่ การเปลี่ยนผ่านในกรอบความคิดนี้ส่งผลต่อแนวคิดการสร้างบ้านเรือนของข้าราชบริพารและราษฎร
เมืองเพชรบุรีจึงปรากฏการนิยมสร้างบ้านเรือนอิทธิพลตะวันตกในหมู่ของข้าราชบริพาร ขุนนาง คหบดี ตลอดจนพ่อค้าและราษฎรเพื่อการอยู่อาศัยโดยประกอบไปด้วยเรือนไม้อิทธิพลตะวันตก ซึ่งเป็นแบบทั้งทรงปั้นหยา ทรงมนิลาทรงจั่วตัด และเรือนตึกซึ่งก่อสร้างด้วยอิฐปูน เพื่อตอบรับกับรูปแบบใหม่ที่กำลังเป็นพระราชนิยมและความทันสมัย ด้วยปัจจัยความพร้อมทั้งปัจจัยภายนอก ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงโลกทัศน์แบบจารีตสู่โลกทัศน์แบบสมัยใหม่อย่างตะวันตก รวมถึงการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการสร้างที่ประทับของพระมหากษัตริย์ และปัจจัยภายในที่เมืองเพชรบุรีมีความพร้อมในเรื่องของพื้นที่ที่นำมาสู่การเข้ามาของพระมหากษัตริย์ ความพร้อมของวัสดุในการก่อสร้าง และความพร้อมของช่างฝีมือ
ABSTRACT:
During the reign of King Mongkut, King Chulalongkorn and King Vajiravudh, Petchaburi province was one the most important areas in Siam. This is reflected in the construction of royal residences in the province. The royal palace and residence built in Petchaburi is based on western architecture and were built during the same timeframe as the establishment of western architecture in Bangkok. As “Western” was considered moving toward modernization, the Siamese King’s intention to build the architecture with western influence in Thailand marks one of the most significant transitions of the Thai world outlook from conventional perspective to a modern world perspective. This transition of ideas affected the courtiers and people’s concept of building houses.
Consequently, it became popular to build houses with western influenced architecture among courtiers, nobles, wealthy merchants and citizens in Petchaburi province. The building consisted of either wooden or brick houses in a western influenced style. This building style also incorporated either a hip roof, gable roof or trimmed gable roof. This architectural style reflected the acceptance of new ideas which were becoming popular and were considered modern at the time. The reason for the popularity of this building style in Phetchaburi province came from both inside and outside of the province. The change from a conventional to a western modern perspective and changes to the construction of royal residences are the two main external factors. The main internal factor was the readiness of Phetchaburi province in terms of available area, which is the reason why the province was chosen by the King. Material and skilled craftsman in the province also played an important role in the popularity of this building style.