
รูปแบบฉันทลักษณ์ร้อยกรองที่ได้จากการศึกษาข้อความในจารึกจังหวัดเชียงใหม่
Forms of Poem Found in Inscription in Chiang Mai Province
โดย ณัฐพงษ์ ปัญจบุรี / By Nattapong Punjaburi
Damrong Journal, Vol 16, No.1, 2017
บทคัดย่อ:
บทความนี้มุ่งเน้นนำเสนอจารึกจังหวัดเชียงใหม่ที่มีการใช้ภาษาแบบร้อยกรอง
โดยทำการศึกษาจากข้อความที่ปรากฏในจารึกแล้วสรุปออกมาเป็นรูปแบบฉันทลักษณ์
ว่ามีความสอดคล้องกับฉันทลักษณ์ร้อยกรองประเภทใด
หรือมีลักษณะเฉพาะตัวที่ไม่สอดคล้องกับฉันทลักษณ์ร้อยกรองใดๆ ซึ่งจารึกกลุ่มตัวอย่างที่ทำการศึกษามีจำนวน
6 หลัก ได้แก่จารึกวัดศรีสุพรรณ(ชม.25) จารึกกู่วัดเสาหิน(ชม.24)
จารึกสุวรรณปราสาท(ชม.8) จารึกพระพุทธรูปสลักบนงาช้าง(ชม.40) จารึกหน้าอุโบสถวัดพระสิงห์(ชม.12) และจารึกวัด สันทรายหลวง พ.ศ.2466 เมื่อวิเคราะห์จารึกทั้ง 6 หลักแล้ว
พบรูปแบบฉันทลักษณ์อยู่ 3 รูปแบบ คือ รูปแบบร่าย
รูปแบบกลอนสี่ และรูปแบบที่ไม่สอดคล้องกับฉันทลักษณ์ใดๆ
นอกจากนี้พบว่าผู้ประพันธ์จารึกสุวรรณปราสาท(ชม.8) และจารึกพระพุทธรูปสลักบนงาช้าง(ชม.40) อาจจะเป็นบุคคลเดียวกัน เนื่องจากจารึกทั้งสองมีข้อความในตอนต้นที่คล้ายคลึงกัน
พบการใช้ฉันทลักษณ์แบบร่ายเหมือนกัน และวันที่สร้างจารึกเป็นวันเดียวกันรูปแบบฉันทลักษณ์ที่ได้จากการศึกษาจารึกทั้ง 6 หลัก จะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษารูปแบบ ฉันทลักษณ์ที่ปรากฏจากข้อความในจารึกต่อไป
ABSTRACT:
This
article aims to study inscriptions located in the Chiang Mai Province. All of
the selected pieces were written in poem, which was then analyzed and
categorized. The six inscriptions comprise of Wat Sri Suphan inscription (CM
25), inscription at the cemetery of Wat Sao Hin (CM 24), Suwan Prasat
Inscription (CM 8), inscription on ivory Buddha image (CM 40), inscription in
front of Wat Phra Singha (CM 12), and Wat San Sai Luang inscription (B.E.2466).
The study found that they were written differently using three different poetry
styles. In addition, it was also found that the poet of Suwan Prasat
inscription (CM 8) and the inscription on the ivory Buddha image (CM40) might
be the same person due to the same writing style at the beginning and the same
date when both inscriptions were created. This can be helpful for further
studies in other pieces of inscription.