
ความเชื่อของกวีในการสดุดีกษัตริย์ที่สะท้อนจาก “กวิสมยะ”: ศึกษาจากจารึกภาษาสันสกฤตที่พบในประเทศไทย
Beliefs of the Poet Praising the Kings reflected from the Kavisamaya : A Study of Sanskrit Inscriptions found in Thailand
โดย นิพัทธ์ แย้มเดช / By Nipat Yamdate
Damrong Journal, Vol 16, No.1, 2017
บทคัดย่อ:
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเชื่อของกวีในการการสดุดีกษัตริย์ที่สะท้อนผ่านกวิสมยะหรือขนบการประพันธ์ของกวี
ข้อมูลที่นำมาศึกษา คือ จารึกภาษาสันสกฤตที่พบในประเทศไทย จำนวน 7 หลัก ได้แก่ (1) จารึกวัดเสมาเมือง (2) จารึกสด๊กก๊อกธม 2 (3)
จารึกปราสาททัพเสียม 2 (4) จารึกพบที่ปราสาทพนมรุ้ง
(5) จารึกประจำอาโรคยศาลา ตาเมือนโต๊จ (6) จารึกวัดหัวเวียงเมืองไชยา 1 (7) จารึกเมืองเสมา
ผลการศึกษาพบว่ากวีแสดงความเชื่อในการสดุดีกษัตริย์ที่ปรากฏในกวิสมยะ (ขนบของกวี) ซึ่งมีลักษณะร่วมกัน 10 ประการ คือ (1) พระพรหมเป็นเทพผู้สร้างกษัตริย์ขึ้นมา (2) พระเกียรติยศของกษัตริย์ขจรขจายไม่มีที่สิ้นสุด
(3) กษัตริย์มีพระบรมเดชานุภาพเหมือนกับพระอาทิตย์(4)กษัตริย์มีความงามเหมือนกับพระจันทร์ (5) กษัตริย์มีคุณลักษณะเหมือนกับพระจันทร์และพระอาทิตย์
(6) กษัตริย์มีความงามเหมือนกับกามเทพ หรืองามยิ่งกว่ากามเทพ
(7) พระนางลักษมีมีความสัมพันธ์กับกษัตริย์อย่างแนบแน่น (8)
กษัตริย์ทรงมีความรอบรู้เป็นเลิศ
(9) พระบาทของกษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ได้รับการยกย่องโดยกษัตริย์องค์อื่น
(10) กษัตริย์มีความสัมพันธ์กับพันธุ์ไม้ใหญ่หรือพันธุ์ไม้วิเศษ
จากการศึกษาครั้งนี้ทำให้เห็นความเชื่อของกวีที่มองภาพลักษณ์กษัตริย์ว่าเป็นบุคคลแตกต่างจากบุคคลโดยทั่วไป
คือ กษัตริย์ทรงเป็นสมมติเทพหรือเทวราชา ทรงมีคุณสมบัติภายนอกด้านรูปโฉมน่าชื่นชม
ทรงมีความเก่งกล้าสามารถ และมีอำนาจมาก ทรงเป็นนักปราชญ์
และประการสุดท้ายกษัตริย์ทรงมีคุณต่อทวยราษฎร์
ABSTRACT:
This paper aims to study thebeliefs of the poet’s praising of the kings through
the poetic convention or kavisamaya.The
samples were 7 Sanskrit Inscriptions found in Thailand (1) Wat-Sema-Mueang
Inscription, (2) Sdokkok-Thom II Inscription, (3) Prasat-Thap-Siam II
Inscription, (4) Prasat-Phnom-Rung Inscription, (5) Prasat-Ta-Mian-Tot
Inscription, (6) Wat-Hua-Weang-Mueang-Chaiya I Inscription, (7) Mueang-sema
Inscription. From the study, it is found that there were 10 kinds of belief
regarding to the kavisamaya for praising the kings: (1) Brahman was the creator
of the kings; (2) the glory of the kings pervades
infinitely; (3) thekings were as
powerful as the sun; (4) the kings were as beautiful as
the moon; (5) the kings had the same features as the moon
and the sun; (6) the kings were as beautiful as or more
than Kāmadeva (god
of love); (7) Goddess Lakṣmī had a close relationship with
the kings; (8) thekings were
omniscient; (9) the great kings’ feet were honored by
other kings; (10) the kings were associated with gigantic
or magical trees. It was found that the poets who praised the kings believed that the kings’
image was different from other normal people: the kings were demigod
or
“Devarājā”
whose characteristics were admirable, bold and absolutely powerful, they were
sages, and they werebeneficial to their
citizens.