
เรื่องราวในนวนิยายแนวสืบสวนสอบสวนเรื่อง ปาร์ส์ วิต เอ เรอเวียงส์ ตาร์ด์ ของ เฟรด วาร์กัส
The Story of a Detective Novel Entitled “Pars Vite et Reviens Tard” Written by Fred Vargas (L’histoire romanesque du roman policier Pars vite et reviens tard de Fred Vargas)
โดย เพ็ญลักษณ์ วงศ์จงใจหาญ / By Penlak Wongchongchaiharn
Damrong Journal, Vol 15, No.2, 2016
บทคัดย่อ:
บทความนี้ว่าด้วยการวิเคราะห์นวนิยายสืบสวนสอบสวน เรื่อง ปาร์ส์ วิต เอ เรอเวียงส์ ตาร์ด์ ของ เฟรด วาร์กัส (Histoire romanesque du roman policier : Pars vite et reviens tard de Fred Vargas) ประเด็นแรกที่วิเคราะห์ คือ นวนิยายเรื่องนี้เล่าเรื่องใดบ้าง ประเด็นที่สอง คือ นวนิยายเรื่องนี้เขียนตามขนบ นวนิยายสืบสวนสอบสวนหรือไม่ นวนิยายเรื่องนี้ประกอบด้วยเรื่องราวซ้อน 3 เรื่อง แรก คือ เรื่องการฆาตกรรมตามทฤษฎีของ Tzvetan Todorov เรื่องที่สองเป็น เรื่องการสืบสวนสอบสวนตามทฤษฎีของ Frank Evrard ส่วนเรื่องที่สามคือ เรื่อง รักของตัวละคร 2 คู่ตามในเนื้อเรื่อง อีกทั้งเราสามารถใช้ แผนภูมิปัญจกะ (วัลยา วิวัฒน์ศร 2541 : 129) หรือ « schéma quinaire » ของ Paul Larivaille ซึ่งอ้างถึงโดย Yves Reuter มาวิเคราะห์โครงเรื่องตลอดจนการคลี่คลายปมเรื่อง กล่าวโดยสรุป นวนิยายเรื่องนี้เขียนตามขนบนวนิยายสืบสวนสอบสวน คือ ผู้เขียนจะเน้นเรื่องราวการสืบสวนสอบสวนแต่เรื่องราวการฆาตกรรมถูกตัดออกไป การฆาตกรรมแสดงให้เห็นด้วยสัญญาณ ศพ และผู้ต้องสงสัย และเป็นไปตามลักษณะ “curiosity” ของ Todorov โครงเรื่องเป็นไปตามขั้นตอนของแผนภูมิปัญจกะ แต่ มีลักษณะเฉพาะของนวนิยายเรื่องนี้ในส่วนของรายละเอียดปลีกย่อย เช่น เรื่องรัก
ABSTRACT:
This article is an examination of a detective novel entitled “Pars Vite et Reviens Tard” written by Fred Vargas. Firstly, the paper looks at kinds of stories told in this novel and Secondly, whether or not these stories conform to traditional models of detective novel. The first is the crime story, according to Tzvetan Todorov’s ideas. The second is the detective story as expounded by Frank Evrard. Thirdly there is the love story as found in Fred Vargas’ novel itself. We can use Paul Larivaille’s “quinaire schema”, mentioned by Yves Reuter, to analyze the plot and how it unfolds in this novel. In conclusion we found that “Pars vite et reviens tard” broadly conforms to the model of the traditional detective story. For example, the criminal story is absent from the recital and its detective story constitutes the discourse of the novel. The criminal story shows the signals, the deaths, the suspects and conforms to Todorov’s “curiosity” and the plot follows every step of the “schema quinaire”. Although there are certain pertinent details which deviate from this model such as its love story.