
Caractéristiques des manuels parascolaires de grammaire du français langue étrangère créés par des auteurs thaïlandais
-
โดย ดร.สรรพร เอี่ยมมงคลสกุล / By Dr.Sunporn Eiammongkhonsakun
Damrong Journal, Vol 17, No.2, 2018
บทคัดย่อ:
ร้านหนังสือในประเทศไทยมีหนังสือคู่มือสอนไวยากรณ์ภาษาฝรั่งเศสในฐานะภาษาต่างประเทศที่เขียนโดยคนไทยเป็นจำนวนมาก นอกจากหน้าปกที่มีสีสันและขนาดแตกต่างกันแล้ว การเลือกคู่มือเล่มหนึ่งจากการพลิกดูเนื้อหาทำได้ยาก บางครั้งการอ่านสารบัญก็ไม่สามารถทำให้เรารู้ได้ว่าในคู่มือเล่มนั้น จะอธิบายเรื่องต่างๆ อย่างไรบ้าง และบ่อยครั้งการเลือกอ่านบางส่วนที่ชั้นหนังสือก็ไม่สามารถช่วยให้เลือกได้ง่ายขึ้น เพราะรูปแบบการจัดหน้ากระดาษของคู่มือ ทุกเล่มเหมือนกัน คือ เป็นย่อหน้าติดต่อกันและมีตารางแสดงรายการคำศัพท์ ดังนั้นเพื่อจะรู้ข้อแตกต่างของคู่มือแต่ละเล่ม จำเป็นจะต้องอ่านอย่างตั้งใจ จาก ข้อจำกัดนี้ ผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาเอกลักษณ์ของคู่มือดังกล่าว ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าภาษาที่ผู้แต่งใช้ในการอธิบายไวยากรณ์นั้นไม่แตกต่างกัน ผู้แต่งอธิบายหน้าที่ของไวยากรณ์แต่ละเรื่องเป็นอันดับแรกพร้อมนำเสนอรูปแบบของคำและวลีหรือประโยคตัวอย่าง สิ่งที่เห็นได้ชัดเจนคือผู้แต่งไม่อธิบายหรือวิเคราะห์ตัวอย่างที่ยกมาให้ผู้เรียน-ผู้อ่านเข้าใจความหมาย และบทบาทของไวยากรณ์ที่ได้อธิบายไปข้างต้น สิ่งที่ทำให้คู่มือแต่ละเล่มแตกต่างกันคือรายละเอียดของเนื้อหาที่นำเสนอ นอกจากนี้ผู้วิจัยยังพบเทคนิคอภิปริชาน (Stratégies métacognitives) ของผู้แต่งที่ส่งเสริมและผลักดันให้ผู้อ่านได้ฝึกทักษะอภิปริชาน (Compétences métacognitives) ของตนเอง ซึ่งเป็นวิธีการหนึ่งที่ทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างยั่งยืน แต่เป็นที่น่าเสียดายที่เทคนิคดังกล่าวยังมีเป็นจำนวนน้อย
ABSTRACT:
Dans les librairies en Thaïlande se trouvent plusieurs manuels parascolaires de grammaire du français langue étrangère créés par les Thaïlandais. À part de la couverture colorée et de la taille, en les feuilletant, nous avons du mal à en choisir un. Le sommaire ne donne pas toujours des idées sur ce qui va être développé. La lecture sélective devant le rayon n’apporte pas tellement pistes à la sélection parce que la disposition graphique des pages de tous les manuels est généralement la même : la succession des paragraphes avec des tableaux présentant les listes de mots. Pour reconnaître les différences, il faut absolument la lecture studieuse. En raison de cet inconvénient, nous sommes intéressée à connaître les caractéristiques des manuels. Le résultat d’analyse montre que le discours explicatif métalinguistique de chacun n’est pas très distingué. Les auteurs présentent d’abord la fonction et les formes suivies par des exemples. Remarquablement, l’explication analytique de ces derniers n’est pas souvent présente. Ce qui singularise chacun est plutôt les détails des informations abordées. Par ailleurs, nous remarquons des stratégies métacognitives des auteurs qui poussent les lecteurs à exercer leurs compétences métacognitives. C’est un moyen constituant l’autonomie d’apprentissage. Pourtant, il est dommage que de telles stratégies ne soient pas souvent appliquées dans les manuels.