
เจดีย์ทรงระฆังสกุลช่างกำแพงเพชรการผสมผสานรูปแบบสุโขทัย ล้านนาและอยุธยา
Bell-shaped Stupas of Kamphaengphet School: An Amalgam of Sukhothai, Lanna and Ayutthaya Art Styles
โดย ดร.ศักดิ์ชัย สายสิงห์ / By Dr.Sakchai Saisingha
Damrong Journal, Vol 18, No.1, 2019
บทคัดย่อ:
เมืองกำแพงเพชรเป็นเมืองที่มีความสำคัญในสมัยสุโขทัย และเมื่ออาณาจักรสุโขทัยถูกผนวกรวมกับอยุธยาแล้ว เมืองกำแพงเพชรได้กลายมาเป็นหัวเมืองสำคัญในสมัยอยุธยา ในฐานะเมืองศูนย์กลางการติดต่อระหว่างอยุธยากับล้านนา ด้วยเหตุนี้เองงานศิลปกรรมที่ปรากฏอยู่จึงเป็นงานที่เกิดจากการผสมผสานระหว่างศิลปะสุโขทัยที่มีอยู่เดิม อยุธยาและล้านนา โดยเฉพาะเจดีย์ได้เกิดมีลักษณะเฉพาะจนสามารถเรียกว่าเป็น “เจดีย์ทรงระฆังสกุลช่างกำแพงเพชร” และมีอายุในราวต้นพุทธศตวรรษที่ 21
เจดีย์ทรงระฆังในเมืองกำแพงเพชร แบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มรูปแบบ คือ
กลุ่มที่ 1 เจดีย์ทรงระฆังแบบสุโขทัย-อยุธยา: เจดีย์ที่มีสิงห์ล้อม มีรูปแบบเหมือนกับเจดีย์ทรงระฆังในสมัยสุโขทัย มีชุดบัวถลา 3 ชั้นรองรับองค์ระฆัง
บัลลังก์ในผังสี่เหลี่ยม ส่วนที่แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลศิลปะอยุธยา ได้แก่ การปรับเปลี่ยนส่วนฐานจากแต่เดิมเคยเป็นฐานช้างล้อมมาเป็นสิงห์ล้อมแทน
กลุ่มที่ 2 เจดีย์ทรงระฆังที่มีฐานและส่วนรองรับองค์ระฆังแปดเหลี่ยม (ลักษณะเฉพาะของเมืองกำแพงเพชร) คือ มีการผสมผสานกันระหว่างเจดีย์ทรงระฆังแบบสุโขทัยและหริภุญชัย-ล้านนา โดยมีลักษณะพิเศษคือ ชั้นฐานบัวลูกแก้วอกไก่ในผังแปดเหลี่ยมหลายชั้นและมีการประดับลูกแก้วขนาดใหญ่มาก
กลุ่มที่ 3 เจดีย์ทรงระฆังแบบสุโขทัย-ล้านนา: เจดีย์ที่มีส่วนรองรับองค์ระฆังเป็นบัวคว่ำ-บัวหงายแบบล้านนา โดยมีส่วนสำคัญคือ มีชุดบัวคว่ำ-บัวหงาย 3 ชั้น รองรับองค์ระฆัง อันเป็นลักษณะเฉพาะของเจดีย์ทรงระฆังแบบล้านนา
ABSTRACT:
Kamphaengphet was an important city in the Sukhothai period. After the Sukhothai kingdom merged into the Ayutthaya kingdom, the city remained important as a center connecting Ayutthaya with Lanna. Thus, the art works of Kamphaengphet portray a mixture of Sukhothai, Ayutthaya and Lanna art styles. One significant example is the city’s stupas which are called “the bell-shaped stupas of Kamphaengphet School ” and were built around the 16th century A.D.
This group of stupas can be further categorised into three groups, as follows:
Group I Bell-shaped stupas with a mixture of Sukhothai and Ayutthaya styles (the stupa with surrounding lion figures): This category has three tiers of sloping moldings and a square form above the bell-shaped form that is reminiscent of Sukhothai-styled bell-shaped stupas. However, the usage of lions as decorations shows an influence from Ayutthaya.
Group II Bell-shaped stupas with octagonal bases (the typical type of Kamphaengphet): This group shows an amalgam of Sukhothai and Haripunchai-Lanna art styles. Their important characteristics are a multi-tiered octagonal base decorated with large pointed moldings.
Group III Bell-shaped stupas with a mixture of Sukhothai and Lanna art styles (the stupa with a set of Lanna-styled bases): The important features of this group is a three-tiered lotus base supporting a bell-shaped form, derived from Lanna-styled bell-shaped stupas.