
การสืบทอดและการดัดแปลงเรื่องพระอภัยมณีของสุนทรภู่เป็นบทละครรำของกรมศิลปากร
The Continuation and the Adaptation of Sunthon Phu’s Phra Aphai Mani to Lakhon Ram Texts by the Fine Arts Department
โดย ณัฏฐพล เขียวเสน, ดร.ธานีรัตน์ จัตุทะศรี / By Nattapon Keawsen, Dr.Thaneerat Jatuthasri
Damrong Journal, Vol 18, No.1, 2019
บทคัดย่อ:
บทความนี้มุ่งศึกษาการสืบทอดและการดัดแปลงเรื่องพระอภัยมณีของสุนทรภู่เป็นบทละครรำ ของกรมศิลปากร ช่วง พ.ศ. 2495-2561 ผลการศึกษาพบว่า บทละครรำ เรื่องพระอภัยมณีของกรมศิลปากร สืบทอดลักษณะสำคัญของเรื่องพระอภัยมณีของสุนทรภู่หลายประการ ได้แก่ การสืบทอดเนื้อเรื่อง ตัวละครและกลอนเดิมของสุนทรภู่ ด้านการดัดแปลงพบว่า ในด้านรูปแบบ กรมศิลปากรดัดแปลงกลอนเดิมของสุนทรภู่ รวมทั้งดัดแปลงรูปแบบและเพิ่มองค์ประกอบต่าง ๆ ให้เป็นบทละครรำ สำหรับใช้แสดงจริง ได้แก่ การแต่งกลอนบทละครขึ้นใหม่ การบรรจุเพลงร้องและเพลงหน้าพาทย์ การกำกับเจรจา การแบ่งองก์-ฉาก และการกำกับวิธีแสดง ส่วนด้านเนื้อหาพบว่า มีการดัดแปลงโดยการตัดรายละเอียดเนื้อหาเพิ่มเหตุการณ์ และสลับเหตุการณ์ เพื่อให้เหมาะแก่การแสดง ด้านตัวละครมีการเพิ่มตัวละคร ลดตัวละคร และปรับเปลี่ยนลักษณะตัวละครบางตัว นอกจากนี้ยังมีการแทรกชุดการแสดงเพื่อสร้างสีสันแก่การแสดงละครรำด้วย การสืบทอดและการดัดแปลงดังกล่าวนี้ทำให้บทละครรำ เรื่องพระอภัยมณีของกรมศิลปากรมีความเหมาะสมแก่การแสดงละครรำ และได้รับความนิยมตั้งแต่อดีตจวบจนปัจจุบัน
ABSTRACT:
The main purpose of this article is to study the continuation and the adaptation of the literature Phra Aphai Mani of Sunthon Phu as Lakhon Ram texts of the Fine Arts Department during 1952-2018. According to the research, the Lakhon Ram texts preserve a number of points from Phra Aphai Mani of Sunthon Phu, specifically, the continuation of contents, characters, along with original Klons of Sunthon Phu. In terms of modification, specifically with form modification, the Fine Arts Department modified the original version of Sunthon Phu’s and some other components to make them more suitable to the application of real performance. The new components include composing new Klons later added to the original version, adding musical and Na Phat performance, the making of acts and scenes and performance supervising. In terms of contents, the main modifications are the reduction of some details, the increasing and rearrangment of situations, all of which are for performance suitability. Concerning characters, some of the dominant ones were increased, and the others were reduced or modified for appropriation. In addition, new show sets were added for more performance attraction.