
สมเด็จฯเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์กับภาษาเขมร
PRINCE NARIS AND HIS TALENT IN KHMER LANGUAGE
โดย ศานติ ภักดีคำ / By Santi Pakdeekham
Damrong Journal, Vol 12, No.1, 2013
บทคัดย่อ:
สมเด็จฯเจ้าฟ้า กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ นอกจากจะทรงมีพระปรีชาด้านงานช่าง ศิลปะ และดนตรีแล้วยังทรงมีความรู้ความชำนาญในภาษาเขมรเป็นอย่างมาก ทั้งในแง่การตรวจงาน แปลภาษาเขมรมาเป็นภาษาไทยของผู้อื่น หรืองานพระนิพนธ์แปลจากภาษาเขมรของพระองค์โดยตรง ที่สำคัญคือ ”ลัทธิธรรมเนียมต่างๆ ภาคที่ 21 เรื่องพิธีราชาภิเษกสมเด็จพระมณีวงศ์ พระเจ้ากรุงกัมพูชา”
จากการที่ทรงมีผลงานเกี่ยวกับภาษาเขมรและการแปลเช่นนี้ ได้พบว่าทรงวางหลักเกณฑ์ในการแปลภาษาเขมรมาเป็นภาษาไทยอย่างน่าสนใจ คือการถอดถ่ายอักษรจากเขมรมาเป็นไทย แล้วเลือกแปลเฉพาะศัพท์ที่ไม่มีในภาษาไทย ผลคือทรงมีพระวินิจฉัยว่าภาษาเขมรกับภาษาไทยนั้นมีความใกล้เคียงกันมากในด้านไวยากรณ์ คำศัพท์ร่วมและคำยืมจากภาษาบาลีสันสกฤต
นอกจากนี้ข้อพระวินิจฉัยเกี่ยวกับภาษาเขมรที่ปรากฏในภาษาไทยยังทำให้ทราบถึงรากเหง้าของศัพท์บางคำที่มาจากภาษาเขมรมากกว่าเป็นคำไทยดั้งเดิม ซึ่งบางคำได้กลายความหมายไปแล้ว และก็ยังได้ทรงวิเคราะห์ถึงที่มาที่ไปอย่างน่าสนใจตามหลักนิรุกติศาสตร์และภาษาศาสตร์
ABSTRACT:
Prince Naris was renowned for his artistic talents in fine arts and music. Not widely known, he also had high level of skills and competence in the Khmer language, especially in translation. His translation expertise was evident in his ability to edit other people’s Khmer writing into Thai or his own translation work from Khmer into Thai. The most important work is, “Traditions and Customs, Chapter 21, the Coronation of Somdej Phra Monivong, King of Cambodia”.
His work and his talents have guided the translation of Khmer into Thai, using the transliteration approach. His studies of the influence of Khmer language in Thai language reveal that some Thai words have Khmer roots.
Although the meaning of some words has been changed, his analysis based on etymology and linguistics made a great contribution to later works.