
เมืองกาญจนบุรี (เก่า): ลักษณะรูปแบบเมืองหน้าด่าน จากหลักฐานทางโบราณคดี
OLD KANCHANABURI TOWN: AN ARCHAEOLOGICAL STUDY OF NORDER TOWN ARCHAEOLOGY IN THAILAND
โดย วรพจน์ หิรัณยวุฒิกุล / By Worapoj Hirunyawuttikul
Damrong Journal, Vol 12, No.1, 2013
บทคัดย่อ:
“เมืองกาญจนบุรี (เก่า)” นับว่าเป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญต่อความมั่นคงของประเทศในสมัยอยุธยาเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นเมืองหน้าด่านสุดท้ายก่อนกองทัพพม่าจะเข้าตีเมืองสุพรรณบุรีและกรุงศรีอยุธยาด้วยเมื่อพม่ายกทัพเข้ามาทางด่านพระเจดีย์สามองค์แล้วต้องเอาชนะกองทัพที่ตั้งอยู่ที่เมืองกาญจนบุรีให้ได้เสียก่อนหากหลีกเลี่ยงเลยไปแล้วจะถูกกองทัพที่เมืองกาญจนบุรีตีตลบหลังและกระหนาบข้างได้ ดังนั้นท้องที่เมืองกาญจนบุรีจึงถูกใช้งานเป็นสนามรบมาหลายครั้ง
การศึกษาทางโบราณคดีในบริเวณพื้นที่เมืองกาญจนบุรี (เก่า) จึงมีความสำคัญในแง่ของการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ด้านการสงครามในช่วงสมัยอยุธยาได้เป็นอย่างดี จากการดำเนินงานขุดค้น – ขุดแต่งโบราณสถานต่างๆที่ปรากฏอยู่ภายในเมือง หลักฐานที่พบทั้งหมดนั้น สามารถนำมาใช้ในการศึกษาวิเคราะห์ลักษณะรูปแบบของเมือง ซึ่งผลที่ได้จากการศึกษาพบว่าเมืองมีลักษณะรูปแบบเป็นเมืองเปิด ใช้สภาพภูมิศาสตร์ตามธรรมชาติเป็นแนวป้องกันเมือง ภายในเมืองประกอบด้วยพื้นที่ใช้ประโยชน์ 3 ส่วน คือ
1. พื้นที่ด้านลัทธิความเชื่อ ได้แก่ กลุ่มวัดร้างจำนวน 4 วัด
2. พื้นที่ด้านการเมืองการปกครอง ได้แก่ ป้อมค่ายสำหรับระดม ไพร่พลเพื่อเตรียมความพร้อมในสงคราม
3. พื้นที่อยู่อาศัยชั่วคราวเมื่อยามเกิดศึกสงคราม
อาจกล่าวได้ว่า รูปแบบการใช้พื้นที่ในเมืองกาญจนบุรี (เก่า) นี้ น่าจะเป็นแบบแผนของการใช้พื้นที่ของเมืองหน้าด่านสมัยอยุธยาของไทย ซึ่งสามารถนำมาใช้ในการพัฒนาองค์ความรู้ด้านการศึกษาประวัติศาสตร์การสงครามในช่วงสมัยอยุธยาได้ต่อไปในอนาคต
ABSTRACT:
“Old Kanchanaburi Town” was an important town which, as a border town, prevented the Burmese battalions from moving on to Suphanburi town and Ayutthaya. The results of this archaeological study and analysis show that the town has no artificial boundaries but that the natural geographic features were used as defensive lines. The areas of the town were possibly divided into 3 functional areas as follows;
1. The religious area which comprised 4 temples
2. The political area which was composed of a fort and related defensive features
3. The domestic area which was very probably for temporally habitation
The result of researching Old Kanchanaburi Town also show the general land use patterns of the border towns during the Ayutthaya period of historic Thailand.