
การกำหนดอายุสมัยเมืองโบราณเวียงแหง อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ จากหลักฐานทางโบราณคด
THE HISTORICAL DATING OF ANCIENT WIANG HAENG TOWN, CHIANG MAI PROVINCE BASED ON ARCHAEOLOGICAL EVIDENCE
โดย อเนกฤทธิ์ อมรชัยพิพัฒน์ / By Anekrit Amornchaipipat
Damrong Journal, Vol 12, No.1, 2013
บทคัดย่อ:
จากการศึกษาพบว่าเมืองโบราณเวียงแหง มีร่องรอยการอยู่อาศัยของมนุษย์ในสมัยอดีตตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ราว 5,500 ปีมาแล้วจัดอยู่ในกลุ่มที่ใช้เครื่องมือแบบโฮบิเนียน อาศัยอยู่ตามเพิงผาหรือถ้ำบนภูเขาที่ไม่ไกลจากแม่น้ำ ดำรงชีวิตด้วยการล่าสัตว์หาของป่า ต่อมาจึงเริ่มรู้จักที่จะรู้จักทำการเพาะปลูก และนำสัตว์มากัก ลักษณะทางสังคมน่าจะเป็นชุมชนขนาดเล็ก และเริ่มที่จะเข้ามาใช้พื้นที่ราบบริเวณหุบเขาแคบๆกระทั่งเข้าสู่ยุคสมัยประวัติศาสตร์ ซึ่งเป็นช่วงเวลาสำคัญอย่างยิ่งของบ้านเมืองในดินแดนล้านนา จากการขุดค้นทางโบราณคดีในพื้นที่อำเภอเวียงแหง จำนวน 4 หลุม พบร่องรอยการอยู่อาศัยของชุมชนโบราณเวียงแหงสมัยแรกสุดน่าจะมีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 21–22 ในสมัยรัชกาลของพระเจ้าติโลกราช (พ.ศ. 1984–2030) ถือว่าเป็นยุคทองของล้านนา บ้านเมืองในดินแดนล้านนา รวมถึงเมืองโบราณเวียงแหงต่างมีความเจริญรุ่งเรืองสูงสุดแทบทุกด้าน เห็นได้จากหลักฐานของซากโบราณสถานที่กระจายอยู่ทั่วแอ่งที่ราบเวียงแหง จำนวนมากกว่า 50 แห่ง และหลักฐานจากโบราณวัตถุชิ้นสำคัญ ได้แก่ พระพุทธรูปปางมารวิชัยศิลปะล้านนา(เชียงแสน) ที่วัดห้วยหก และที่วัดเวียงแหง อย่างไรก็ตามเมืองโบราณเวียงแหงเริ่มเสื่อมลงในช่วงพุทธศตวรรษที่ 22–23 เนื่องจากเป็นเมืองที่ตั้งอยู่แนวชายแดนจึงประสบกับภัยสงครามอยู่เสมอ ผลจากการขุดค้นทางโบราณคดีนำไปสู่ข้อสนับสนุนนี้ คือ พบว่ามีการอยู่อาศัยค่อนข้างเบาบางผู้คนเวียงแหงต้องมีการอพยพอยู่บ่อยครั้ง จึงไม่สามารถรวมตัวเป็นชุมชนใหญ่ จนในที่สุดเมืองโบราณเวียงแหงก็ถูกทิ้งร้างไป จนกระทั่งเข้าสู่สมัยรัตนโกสินทร์
ABSTRACT:
From this study it was discovered that there were pre-historical people inhabiting Wianghaeng ancient town approximately 5500 year ago, (Horbiniant group). These people lived in caves near the river and hunted in the surrounding area. Subsequently, the people learned how to cultivate plants and domesticate wild animals and therefore became a small, permanent community which used the plain near the hill. This historical period was a very important time for the development of the northern lands, including Wianghaeng ancient town. The excavation at Wianghaeng ancient town found traces of early habitation from the period 16-17 A.D. which was the golden age of the Northern town (Lanna) during the rein of King Tilokkarat. Wianghang ancient town was completely excavated due to the fact that there are over 50 ruins around the Wianghaeng plain. One of the most significant finds was the Lanna Buddha, found from Huayhok and Wianghaeng temple. However, Wianghaeng ancient town started to decline in 17-18 A.D. due to it’s frontier which resulted in it suffering from the negative effects of war. The results of the excavation support the understanding that Wianghaeng was a small town with a small population which often migrated. This meant that the community never grew and was abandoned in Rattanakosin period.