
คันดินคูเมืองอู่ทอง ข้อมูลใหม่จากการขุดค้นทางโบราณคดี
THE MOAT RAMPART OF U-THONG: NEWLY DISCOVERED INFORMATION FROM THE 2010 EXCAVATION
โดย สันติ์ ไทยานนท์ / By San Thaiyanon
Damrong Journal, Vol 12, No.1, 2013
บทคัดย่อ:
ผลจากการศึกษาคันดินนอกคูเมืองโบราณอู่ทองด้านทิศตะวันตกโดยวิธีการขุดค้นทางโบราณคดีในปี พ.ศ. 2553 ทำให้พบร่องรอยหลักฐาน รวมถึงโบราณวัตถุสำคัญที่สามารถนำมาใช้ศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการทางวัฒนธรรมของเมืองโบราณอู่ทองได้เป็นอย่างดี
จากหลักฐานทางโบราณคดีที่พบทำให้ทราบว่าพื้นที่บริเวณคันดินคูเมืองอู่ทอง เริ่มมีการเข้ามาใช้พื้นที่ในอดีตตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 10 แล้วเป็นอย่างน้อย จากหลักฐานยังแสดงให้เห็นอีกว่าเมืองโบราณอู่ทองนั้น เป็นเมืองท่าโบราณรุ่นแรกๆที่รับวัฒนธรรมจากอินเดีย เช่นเดียวกันกับเมืองออกแก้วในประเทศเวียดนาม และยังพบหลักฐานว่าเริ่มมีการใช้ภาษาในการติดต่อค้าขายกับอินเดีย รวมถึงเมืองโบราณต่างๆ ในภูมิภาคเดียวกัน ตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 11 มาแล้ว
ด้านการศึกษาชั้นทับถมของคันดินนอกคูเมืองด้านทิศตะวันตกพบหลักฐานการเตรียมพื้นที่สำหรับสร้างคันดินนอกคูเมืองขึ้นอย่างน้อยตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 11-12 และปรากฏเป็นคันดินนอกเมืองอู่ทองราวพุทธศตวรรษที่ 13 ต่อมาเมื่อถึงในช่วงพุทธตวรรษที่ 16 คันดินคูเมืองทางด้านทิศตะวันตกได้ทำหน้าที่เป็นสุสานของผู้คนในเมืองอู่ทอง จากร่องรอยหลักฐานของการฝังศพที่พบ แสดงให้เห็นถึงความเชื่อดั้งเดิมของชนพื้นเมืองที่ยังคงมีอยู่ ถึงแม้ว่าผู้คนในเมืองอู่ทองนี้จะได้รับเอาพระพุทธศาสนาเข้ามานับถือก่อนหน้านี้เป็นระยะเวลายาวนานแล้วก็ตาม ต่อมาในช่วงปลายสมัยทวารวดีคันดินคูเมืองอู่ทอง ยังคงได้ถูกใช้งานต่อเนื่อง เรื่อยมา ก่อนที่จะถูกเลิกใช้งานไปพร้อมกับการทิ้งร้างของเมืองอู่ทอง ที่น่าจะมีเหตุมาจากสภาพภูมิประเทศที่เปลี่ยนไป.
ABSTRACT:
The study of the moat rampart of U-thong Ancient City through an archaeological excavation in 2010 reveals a large amount of evidence including many antiques which can be studied to help with the understanding of the cultural development of the city.
The excavated archaeological evidence suggests that the area around the moat rampart was utilized around 5th century A.D., and further shows that U-thong Ancient City is an early Indian-influenced seaport, which is similar to Oc-Eo in Vietnam. Moreover, it can be seen that there was the use of specific language for trading with India and other ancient cities in the region from approximately the 6th century A.D.
From the study of the stratigraphy of the moat rampart, it was discovered that the west moat rampart was built around 6-7th century A.D., and in 11th century A.D. the western moat rampart was utilized as the city graveyard. The burial-related evidence indicates the existence of traditional folk beliefs despite the fact that Buddhism had been long established in the community. In lated-Dvaravati Period, the use of the moat rampart continued before being abandoned along with the desertion of U-thong probably due to a change in topography