
ไตรภูมิฉบับหอสมุดแห่งชาติกรุงปารีส: ความสัมพันธ์กับรามเกียรติ์
THE NATIONAL LIBRARY OF PARIS'S VERSION OF TRIBHUM: A STUDY OF ITS JUXTAPOSITION TO RAMAKIAN
โดย ภัครพล แสงเงิน / By Phakphon Sangngern
Damrong Journal, Vol 12, No.2, 2013
บทคัดย่อ:
บทความนี้มุ่งศึกษาเรื่องรามเกียรติ์ในไตรภูมิฉบับหอสมุดแห่งชาติกรุงปารีสตอน ตำนานเกาะลังกา กำเนิดอสูรพงศ์ และชักนาคดึกดำบรรพ์ โดยทั่วไปไตรภูมิเป็นเรื่องทางพระพุทธศาสนา ส่วนรามเกียรติ์เป็นเรื่องทางศาสนาพราหมณ์-ฮินดูแต่ไตรภูมิฉบับหอสมุดแห่งชาติกรุงปารีสปรากฏเรื่องทั้งสองคตินี้อยู่ด้วยกัน ผลการศึกษาพบว่า ไตรภูมิฉบับหอสมุดแห่งชาติกรุงปารีสแสดงให้เห็นถึงความเข้าใจเรื่องรามเกียรติ์ของคนไทยในอดีตและมีการนำเรื่องรามเกียรติ์มาเชื่อมโยงกับเรื่องไตรภูมิซึ่งแสดงความสัมพันธ์ระหว่างคติพุทธกับพราหมณ์-ฮินดูอย่างกลมกลืน
ABSTRACT:
This article aims to investigate The National Library of Paris’s Version of the Tribhum focusing on three episode: the Lanka Island, the Asuraphong (the demon family) and the Chak-Naga-Duek-Dum-Ban (churning the Milk Ocean). Traditionally, the Tribhum is considered a Buddhist narrative while the Ramakian is a Brahman-Hindu story. However, it is revealed that The National Library of Paris’s version of the Tribhum contains both beliefs. The study also finds that The National Library of Paris’s version of the Tribhum illustrates not only Thai people’s understanding of the Ramakian in the past but also the juxtaposition between Buddhism and Brahmanism-Hinduism.