
การศึกษาเมืองโบราณหริภุญไชย จากหลักฐานโบราณคดี
HARIPUNJAYA: AN ARCHAEOLOGICAL AND LITERARY ACCOUNT
โดย โขมสี แสนจิตต์ / By Khomsi Saenchit
Damrong Journal, Vol 9, No.1, 2010
บทคัดย่อ:
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเมืองโบราณหริภุญไชย จากหลักฐานโบราณคดี โดยนำมาสอบทานกับหลักฐานด้านเอกสารและตรวจสอบความน่าเชื่อถือของหลักฐานด้านเอกสารโดยใช้ หลักฐานโบราณคดี
จากการศึกษาพบว่าเมืองโบราณหริภุญไชยมีร่องรอยของการอยู่อาศัยมาแล้ว 3 ระยะ ระยะแรก ราวพุทธศตวรรษที่ 13 - 14 บริเวณวัดสะดือเมืองเก่ากลางเมืองโบราณหริภุญไชย ระยะที่สอง ราวพุทธศตวรรษที่ 15 - 16 มีการอาศัยอยู่อย่างต่อเนื่องปรากฏหลักฐานจากการขุดค้นบริเวณศาลากลางจังหวัดลำพูน ระยะที่สาม ราวพุทธศตวรรษที่ 17 - 19 ชุมชนได้กระจายตัวออกไปยังบริเวณโดยรอบและพัฒนาเจริญสูงสุดก่อนที่จะล่มสลาย ทั้งยังได้ส่งอิทธิพลไปยังเมืองโบราณใกล้เคียงได้แก่ เวียงมโน เวียงเถาะ และเวียงท่ากาน ซึ่งมีความเจริญขึ้นในช่วงระยะเวลาเดียวกัน วัฒนธรรมของหริภุญไชยในช่วงแรกเริ่มได้รับอิทธิพลจากหลายวัฒนธรรมได้แก่ วัฒนธรรมทวารวดี วัฒนธรรม พยู และ พุกาม รวมทั้งวัฒนธรรมเขมร โดยในช่วงหลังก็ได้ปรับเปลี่ยนมาเป็นรูปแบบของวัฒนธรรมหริภุญไชยของตัวเองอย่างแท้จริงและเจริญถึงขั้นสูงสุด เมื่อนำหลักฐานจารึกตำนานและพงศาวดารมาตรวจสอบความน่าเชื่อถือ พบว่ากำเนิดและพัฒนาการของเมืองโบราณหริภุญไชยจากหลักฐานโบราณคดี มีความสอดคล้องในบางประการกับหลัก ฐานด้านจารึก ตำนานและพงศาวดาร แต่ หากจะนำตำนานและพงศาวดารมาใช้ในการศึกษา ต้องใช้หลักฐานโบราณคดีและหลักฐานอื่นๆ ร่วมด้วย
ABSTRACT:
The purpose of this research is to use archaeological evidence to analyze the accuracy of traditional literary data regarding the ancient Kingdom of Haripunjaya.
The results indicated that the ancient Kingdom of Haripunjaya underwent three stages of habitation before eventually falling into decline: the 8th-9th Century A.D.; the 10th-11th Century A.D.; the 12th-14th Century A.D. Initially, the Kingdom of Haripunjaya was likely to have been influenced by various surrounding cultures, including: Dvaravati, Pyu-Pagane, and Khmer. The Haripunjaya culture later developed its own unique characteristics which aided the Kingdom’s rise to prosperity. Accounts of the birth and development of the ancient Kingdom of Haripunjaya, as appeared on stone inscriptions and in chronicles, bear some connection to archaeological evidence, but the literary evidence does not provide accurate enough information if studied alone.