
รูปแบบแผนผังปราสาทเขมรสมัยบาปวน และการสืบเนื่องในสมัยนครวัด: ประเด็นการศึกษา จากปราสาทพระวิหารและปราสาทหินพิมาย
THE DEVELOPMENT OF KHMER ARCHITECTURE FROM BAPHOUN TO ANGKOR WAT: A COMPARATIVE STUDY OF PREAH VIHEAR AND PHIMAI
โดย วรรณวิภา สุเนต์ตา / By Vanvipha Suneta
Damrong Journal, Vol 9, No.1, 2010
บทคัดย่อ:
บทความนี้นำเสนอความสัมพันธ์ด้านรูปแบบสถาปัตยกรรมของปราสาทพระวิหาร ศาสนสถานแบบบาปวนที่สถาปนาขึ้นในช่วงครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ 16 บนเทือกเขาพนมดงรักบริเวณพรมแดนติดต่อระหว่างประเทศกัมพูชาและประเทศไทยในปัจจุบัน ซึ่งพบว่าเป็นต้นแบบสำคัญให้กับการพัฒนาสัดส่วนและแผนผังของปราสาทหินพิมายที่สถาปนาขึ้นต่อมาในดินแดนไทย
ปราสาทพระวิหารมีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสมีมุขสี่ด้านและมีมณฑปต่อเนื่องด้านหน้ามุขหน้าปราสาทเชื่อมต่อกับมณฑปในลักษณะที่ย่นย่อกว่าปกติ ส่งผลให้มณฑปคล้ายกับเป็นส่วนหนึ่งของมุขปราสาท อันเป็นรูปแบบแผนผังที่พัฒนาต่อมาในปราสาทหินพิมาย
องค์ประกอบสำคัญคือระเบียบชุดฐาน ฐานปราสาทประธานและมณฑปปราสาทพระวิหารมีความสูงที่ต่างระดับกันอย่างชัดเจน ซึ่งเป็นสัดส่วนฐานที่ต่างไปจากศาสนสถานร่วมสมัย และให้อิทธิพลสืบเนื่องไปยังปราสาทหินพิมายทั้งระเบียบชุดฐานและงานประดับชุดฐาน
พัฒนาการด้านรูปแบบและแผนผังปราสาทดังกล่าวอาจเกี่ยวข้องกับการถ่ายทอดรูปแบบศิลปกรรมภายในภูมิภาค อย่างไรก็ตามข้อสันนิษฐานนี้จำเป็นต้องมีการศึกษาด้านโบราณคดีและมานุษยวิทยาเพิ่มเติม เพื่อช่วยอธิบายความสัมพันธ์ของชุมชนอารยธรรมเขมรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
ABSTRACT:
The significant interrelationship between Khmer architecture in northeast Thailand and Angkor during the eleventh to twelfth century has long been discussed by scholars. To further explore the change in Baphoun and Angkor Wat style archetypes, this paper investigates the Khmer architectural development initiated in the late eleventh century Preah Vihear, a Baphoun style sanctuary on Dangraek range, and addresses its influence on the architecture of Phimai, an early twelfth century monument at the center of local politics in northeast Thailand.
The comparative study found that many features of the Preah Vihear central shrine, particularly in architectural proportion and building plan are successively developed at Phimai. The most compelling evidence is that the Prasada and Mandapa of Preah Vihear have bases of different height, a feature that Phimai modeled and was subsequently applied in Thommanon and Banteay Samrei at Angkor.
The development of architectural form observed in this article can plausibly be related to the social and political settlements along the ancient route between the Phimai and Dangraek ranges. However, more archaeological research on these provincial sites is needed to determine the validity of this initial evidence.