
ความหมายลายลักษณ์บนเครื่องถ้วยในห้วงต้นพุทธศตวรรษที่ 19ของแหล่งเจาเมืองน่านบ้านเตาไหแช่เลียงและแหล่งตาพะเยาที่เวียงบัว
CULTURAL MEANING OF DECORATION MOTIFS ON EARLY 13TH CENTURY CERAMICS MANUFACTURED AT MUENG NAN BAN TAO HAI JAE LIANG AND PHAYAO-VIENG BUA KLIN SITES
โดย สายันต์ ไพรชาญจิตร์ / By Sayan Praicharnjit
Damrong Journal, Vol 7, No.1, 2008
บทคัดย่อ:
การขุดค้นศึกษาทางโบราณคดีแหล่งผลิตเครื่องถ้วยชามต้นพุทธศตวรรษที่ 19 ที่แหล่งเตาเมืองน่านบ้านเตาไหแช่เลี้ยง(บ้านบ่อสวก) ได้พบไหเนื้อแกร่งที่มีการตกแต่งด้วยลายลักษณ์แถบคลื่นน้ำ และในแหล่งเตาพะเยาที่เวียงบัว ได้พบชาม/จานเคลือบมีลายลักษณ์ภูมิจักรวาลรูปดวงอาทิตย์ รูปธรรมจักรที่ผสมผสานกับลายกดประทับรูปสัตว์มงคล และลายขวัญ(อนันตวัฏฏะ) โดยลายลักษณ์ดังกล่าวเป็นสิ่งที่เพิ่มคุณค่าและความหมายทางวัฒนธรรมให้กับเครื่องถ้วยให้มีความมงคลอย่างยิ่งสำหรับนำไปใช้กับพิธีกรรมการฝังศพของผู้บริโภคระดับต่างๆ และเป็นหลักฐานทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ศิลปะที่จะเป็นพื้นฐานในการศึกษาประวัติสังคมและวัฒนธรรมของกลุ่มชนชาวไท-ลาวในห้วงเวลาที่กำลังเริ่มสร้างบ้านแปงเมืองเป็นศูนย์อำนาจใหม่ขึ้นในกลุ่มแม่น้ำปิง วัง ยมและน่าน ทั้งในภูมิภาพล้านนาและพื้นที่อื่นๆในประเทศไทย
ABSTRACT:
The studies on stoneware jars bearing band f the wary line motifs and glazed bowls/plates representing cosmological model and wheel of law with zoomorphic and spiral motifs at centre ,found form archeological studies art early 13th century ceramic klin sites of Ban Tao Hai Jea-Liang in Nan and Vieng Bua Klin in Phayao indicate a holistic worldview and wisdom about relationship of cosmos, the supernatural, nature people of potters and ceramic-consumers. Decorative motifs on ceramics have cultural meanings as to the value and power that ceramics held at appropriate functions especially for funeral rites. The recent discovery would be the reference for further archeological and art historical study on and early Thai states in Lan na region ,North Thailand.