
แหล่งโบราณคดีนาตาสุข
NATASUK ARCHAEOLOGICAL SITE
โดย วีณา มูลมงคล / By Weena Moolmongkol
Damrong Journal, Vol 11, No.2, 2012
บทคัดย่อ:
แหล่งโบราณคดีนาตาสุข หรือหนองกอก ตั้งอยู่ในพื้นที่ หมู่ที่ 6 บ้านคลองนำใส ตำบลคลองนำใส อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว
จากการสำรวจบริเวณแหล่งโบราณคดีนาตาสุข นี้ พบร่องรอยหลักฐานทางโบราณคดีที่สำคัญบริเวณผิวดินจนนำไปสู่การขุดค้นอย่างเป็นระบบ ในปี พ.ศ. 2553 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัย เรื่อง การศึกษาพัฒนาการของชุมชนโบราณในวัฒนธรรมเขมร บริเวณรอบปราสาทเขาน้อย อำเภออรัญ - ประเทศ จังหวัดสระแก้ว
ผลจากการศึกษาแหล่งโบราณคดีนาตาสุขนี้ ถึงแม้จะไม่พบชั้นวัฒนธรรมที่ร่วมสมัยกับตัวปราสาทเขาน้อยและจารึกเขาน้อย ซึ่งมีอายุเก่าถึงพุทธศตวรรษที่ 12 ที่อยู่ห่างจากแหล่งโบราณคดีนาตาสุขเพียง 2 กิโลเมตรแต่ก็พบหลักฐานว่าชุมชนในบริเวณแหล่งโบราณคดีแห่งนี้ เริ่มมีการเข้ามาใช้พื้นที่แรกเริ่มตั้งแต่ช่วงพุทธศตวรรษที่ 15 ซึ่งเป็นระยะที่ 1 ของการใช้พื้นที่ และในช่วงระยะที่ 2 อยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 16-18 ก่อนที่จะทิ้งร้างไปทำให้สันนิษฐานได้ว่า น่าจะมีชุมชนมาตั้งถิ่นฐานบริเวณแหล่งโบราณคดี นาตาสุข หลังจากที่มีการสร้างตัวปราสาทเขาน้อยมาแล้ว
ABSTRACT:
The Natasuk archaeological site, also known as Nongkok, is located in village no.6 Ban Klong Nam Sai, Klong Nam Sai sub-district, Aranyaprathet district, Sa Kaeo province.
According to recent exploration, traces of significant archaeological evidence were found in the surface layer, which later resulted in the systematic excavation in 2010 as a part of the research of the Cultural development of the Khmer communities surrounding Prasat Khao Noi, Aranyaprathet district, Sa Kaeo province.
Though the cultural layer found in this study is un-coeval with Prasat Khao Noi and Khao Noi inscriptions which were found approximately two kilometres away from the site and whose age can be traced back to around the twelfth Buddhist era, the excavated evidence show that the communities of the site started using the land during the fifth Buddhist era, which is the first phase of the land use, to sixteenth to eighteenth Buddhist era, the second phase, before leaving. Therefore it can be assumed that there might have been communities using the site of Natasuk after the construction of Prasat Khao Noi.