
การออกแบบและสร้างฐานข้อมูลเศษภาชนะดินเผา จากแหล่งโบราณคดีบ้านโป่งตะขบ ตำบลวังม่วง อำเภอวังม่วง จังหวัดสระบุรี
THE DESIGN AND DEVELOPMENT OF CERAMIC DATABASE FROM PONG TAKHOB ARCHAEOLOGICAL SITE, AMPHOE WANG MUANG, CHANGWAT SARABURI
โดย สุกฤษฏิ์ อรรณพานุรักษ์ / By Sukrit Anapanurasa
Damrong Journal, Vol 11, No.2, 2012
บทคัดย่อ:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบฐานข้อมูลเศษภาชนะดินเผาที่เหมาะสมและมีความเป็นสากล สำหรับใช้บันทึกและจัดเก็บข้อมูลเศษภาชนะดินเผาที่พบในการศึกษาทางโบราณคดีในประเทศไทย โดยใช้โปรแกรม Microsoft Access 2007 เป็นโปรแกรมจัดการฐานข้อมูลและใช้เศษภาชนะดินเผาที่พบในการขุดค้นแหล่งโบราณคดีบ้านโป่งตะขบ ตำบลวังม่วง อำเภอวังม่วง จังหวัดสระบุรี เป็นตัวอย่างศึกษา
จากการทดสอบใช้ฐานข้อมูลที่สร้างขึ้นพบว่าเป็นเครื่องมือที่สามารถช่วยในการจัดการข้อมูลตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้เป็นที่พึงพอใจ นอกจากนี้ ยังเกิดข้อคิดเห็นเสนอแนะบางประการสำหรับการวิจัยทางโบราณคดีโดยทั่วไป ดังนี้ 1) เป้าหมายของโครงการวิจัยที่ชัดเจน รวมทั้งวิธีการรวบรวมและบันทึกข้อมูลเป็นตัวกำหนดคุณภาพของฐานข้อมูล 2) การใช้ฐานข้อมูลสามารถช่วยให้เกิดขั้นตอนการเก็บข้อมูลการบันทึกข้อมูลและการจัดการข้อมูลที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน 3) ข้อจำกัดของการใช้ประโยชน์ ฐานข้อมูลอาจเกิดขึ้นได้จากข้อจำกัดด้านความรู้ของผู้ใช้ฐานข้อมูล ทรัพยากร ทางเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และงบประมาณสนับสนุน
ABSTRACT:
This paper is focused on designing and developing a ceramics database that is standardized and appropriate for archaeological research in Thailand. The computer software used for developing the database is Microsoft Access 2007. The samples studied are pottery fragments excavated from the archaeological site of Ban Pong Takhob, Tambon Wang Muang, Amphoe Wang Muang, ChangwatSaraburi, Central Thailand.
Upon testing, the database developed during this research, was found to be a useful tool that can satisfactorily manage the sample used in the current study. In addition, some suggestions for archaeological research were also obtained from this research. These are as follows; the first is the goal of an archaeological research project and the well pre- designed data collecting as well as data recording techniques that are important determinants of the database applicability and quality, the second is utilizing databases can lead to a standard data collecting, recording, managing procedures in archaeological research. Finally the limitation of database utilization may occur if the knowledge of the user, computer technology resources, and financial support are limited