
การพัฒนาสื่อการศึกษาเพื่อการเรียนรู้แหล่งโบราณคดี ก่อนประวัติศาสตร์บ้านโนนวัด ตำบลพลสงคราม อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา
THE DEVELOPMENT OF EDUCATIONAL TOOLKIT FOR BAN NON WAT PREHISTORIC ARCHAEOLOGICAL SITE, NAKHON RATCHASIMA PROVINCE
โดย ปัฐยารัช ธรรมวงษา / By Pattayarach Thamwongsa
Damrong Journal, Vol 11, No.2, 2012
บทคัดย่อ:
แหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์บ้านโนนวัดมีอายุเก่าแก่ที่สุดในจังหวัดนครราชสีมาและมีความสำคัญมากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย เพราะเป็นที่ตั้งของสังคมเกษตรสังคมแรก ตั้งแต่ยุคหินใหม่ สำริด เหล็กจนถึง ยุคประวัติศาสตร์ตอนต้นผลของการขุดค้นที่สำคัญ คือ การค้นพบโครงกระดูกในพื้นที่เดียวกัน 635 โครง โบราณวัตถุจำนวนมากกว่า 20,000 ชิ้นภายในพื้นที่ยังได้มีการพบเครื่องปั้นดินเผาที่ยังมีความสมบรูณ์จำนวน 4,000 ชิ้น
จุดประสงค์ของการวิจัย คือ การพัฒนาสื่อการศึกษาเพื่อการเรียนรู้แหล่งโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์บ้านโนนวัดโดยประยุกต์ข้อมูลทางโบราณคดี หลักสูตรการศึกษาและสื่อการศึกษาในพิพิธภัณฑ์มีกลุ่มเป้าหมายคือนักเรียนในท้องถิ่นระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 สื่อการศึกษานี้มีจุดมุ่งหมาย
เพื่อสร้างความเข้าใจในแหล่งโบราณคดีบ้านโนนวัดด้วยรูปแบบที่เข้าใจง่ายกระตุ้นให้นักเรียนรู้จักและเข้าใจท้องถิ่นของตนเอง ในการวิจัยผู้วิจัยได้ศึกษาทั้งภาคเอกสารและภาคสนาม ในรูปแบบงานโบราณคดี งานพิพิธภัณฑ์ และหลักสูตรการศึกษา นำมาพัฒนาเป็นชุดสื่อการเรียนรู้ ประกอบด้วย คู่มือครู สมุดกิจกรรม ใบงาน แผ่นกระดาษแสนสนุก เกมกระดาน สื่อสัมผัส และชุดลงมือสนุก ชุดสื่อการเรียนรู้นี้ สามารถนำไปใช้ในแหล่งโบราณคดีบ้านโนนวัดและพิพิธภัณฑ์ของบ้านโนนวัดเพื่อเป็นส่วนเสริมเนื้อหา และสร้างความเข้าใจในแหล่งโบราณคดีอย่างลึกซึ้ง
ABSTRACT:
The Ban Non Wat Prehistoric Archaeological Site is the oldest site in Nakhon Ratchasima and one of the most important sites in Thailand as it is the location of the first Agricultural society in Thailand, which dates from the Neolithic Age, through the Bronze Age and Metal Age to the Early Historic Period. These significant excavations found six hundred and thirty five burials, twenty thousand artefacts and four thousand completed vessels found in the site.
The main purpose of the research is to develop an educational toolkit to assist with learning about the Ban Non Wat Prehistoric Archaeological Site by applying archaeological resources, the school curriculum and the museum toolkit simultaneously. The target group are local students in Prathom 4 – 6. This educational toolkit aims to create an easily applied understanding of the site to stimulate the learning and awareness of their land.
In the research process, I studied both documents and field resources from the archaeological dig, the museums and the school curriculum and applied them in order to create an Educational Toolkit which included a Teacher’s Resource, an Activity Booklet, Worksheets, Fun Handouts, Board Games, Touch and Learn Hands-on and Craft Activities. This education toolkit can be used in both the Ban Non Wat Archaeological site and the Ban Non Wat Museum. It can support the museum content and create a deeper understanding of the site.