
นิทานเรื่องเจ้าชายอกตัญญูกับหมี : ร่องรอยนิทานสันสกฤตในล้านนา
THE UNGRATEFUL PRINCE AND THE BEAR : TRACES OF SANSKRIT FOLKTALES IN THE LANNA KINGDOM
โดย สยาม ภัทรานุประวัติ / By Sayam Patthranuprawat
Damrong Journal, Vol 5, No.1, 2006
บทคัดย่อ:
นิทานอินเดียที่มีพระเจ้าวิกรมาทิตย์เป็นตัวละครเอกนั้น เป็นเรื่องที่แพร่หลายมากในอินเดีย นิทานเรื่องวิกรมาทิตย์ปรากฏทั้งวรรณกรรมมุขปาฐะและวรรณกรรมลายลักษณ์ ทั้งฉบับภาษาสันสกฤตและภาษาท้องถิ่น วรรณกรรมลายลักษณ์เรื่องวิกรมาทิตย์ฉบับภาษาสันสกฤตที่สำคัญมี 2 เรื่องได้แก่ นิทานสิงหาสนทวาตริงศติกา และนิทานเวตาลปัญจวีศติ นักศึกษาวรรณคดีไทยเชื่อว่านิทานทั้ง 2 เรื่องนี้คงเข้าสู่ประเทศไทยโดยวิธีมุขปาฐะ แต่ต้นฉบับนิทานสะเสมิราพญาหมีซึ่งพบที่จังหวัดเชียงใหม่ มีเนื้อเรื่องตรงกับนิทานเรื่องพระเจ้านันทะกับพราหมณ์และเจ้าชายอกตัญญูกับหมีในนิทานสิงหาสนทวาตริงศติกาฉบับภาษาสันสกฤตสำนวนร้อยกรองของอินเดียใต้อย่างมาก เรื่องเสมิราพญาหมีจึงเป็นร่องรอยของนิทานสันสกฤตจากอินเดียใต้ที่เข้ามาสู่อาณาจักรล้านนาตั้งแต่สมัยโบราณ อย่างไรก็ตามผู้เรียบเรียงนิทานเรื่องนี้ก็ได้ปรับเนื้อเรื่องให้เข้ากับความเชื่อทางพุทธศาสนาและท้องถิ่นภาคเหนือ
ABSTRACT:
Indian tales about King Vikramaditya were well-known in India. They are found in both oral tales and literature, the latter of which can be divided into two groups: Sanskrit and local version. In the Sanskrit version, two important tales are Sinhasanatavatrimsatika and Vetalabpancavisati, both of which are believed to have been disseminated throughout Thailand in the oral tradition. However, the story in the manuscript of Sasemira Bhayamee is similar to that of King Nanada and the Brahma and that of the Ungrateful Prince and the Bear, a sub-story in Sinhasanatavatrimsatika, with versions written in Sanskrit and Southern Indian prose. Nevertheless, to suit Buddhist and Local beliefs, the composer of this tale changed a few parts. Thus, Sasemira Bhayamee can be traced to Sanskrit tales that originated in India and later were known in the ancient Lanna Kingdom.