
มองชาวจีนอพยพผ่านจิตรกรรมฝาผนัง
VIEWING THE CHINESE IMMIGRANTS THROUGH MURAL PAINTINGS
โดย มาลินี คัมภีรญาณนนท์ / By Malinee Gumperayarnnont
Damrong Journal, Vol 5, No.1, 2006
บทคัดย่อ:
ประเทศไทยและจีน มีการติดต่อค้าขายกันในระบบบรรณามาเนิ่นนานก่อนสมัยสุโขทัย แต่ลวดลาบกระบวนการจีนเริ่มมีบทบาทบนจิตรกรรมฝาฝนังในสมัยอยุธยาตอนต้น และกลายเป็นภาพสอดแทรกที่คุ้นตากันมากในสมัยรัชการที่3แห่งรัตนโกสินทร์ เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดปรานศิลปะจีนเป็นพิเศษ บทความนี้จะกล่าวถึงชาวจีนอพยพที่ยึดอาชีพค้าขาย ซึ่งเป็นอาชีพที่ชาวจีนถนัด จิตรกรรมฝาฝนังในสมัยรัชกาลที่ 3 สื่อให้เห็นพ่อค้า 2 กลุ่มที่มีสถานภาพทางสังคมแตกต่างกันกลุ่มหนึ่ง เป็นพ่อค้าเร่พายเรือขายของ ซึ่งเป็นกลุ่มที่พบมากและเป็นภาพที่คุ้นตาบนจิตรกรรมฝาฝนังตามวัดต่างๆ ส่วนอีกกลุ่มเป็นคหบดีชาวจีน ภาพของกลุ่มนี้พบบนจิตรกรรมฝาฝนังในวัดหลวงเท่านั้น พ่อค้ากลุ่มนี้นอกจาก จะมีบทบาทสำคัญในสังคมไทยในอดีตแล้ว ยังเป็นแรงผลักดันให้งานศิลปะจีนปรากฎบนจิตรกรรมฝาฝนังอีกด้วย แม้ไม่ใช่ผู้ผลิต แต่บุคคลกลุ่มนี้ก็เปรียบเสมือนตัวกลางถ่ายทอดงานศิลปะจีนให้แพร่หลาย ในขณะที่กลุ่มพ่อค้าเร่ ไม่น่าจะมีความเชื่อมโยงกับงานศิลป์ใดๆ
ABSTRACT:
Thailand and China had established commercial contact under the tributary system long before the Sukhothai period However, Chinese art only started to appear in mural paintings at the beginning of the Ayutthaya period. During the reign of King Rama lll, the depiction of Chinese motifs became the Royal taste, as the King was especially fond of Chinese art. Since mural painting from the early Rattanakosin period primarily depict the Chinese as merchants, the article focuses on this immigrant group. Additionally, because social backgrounds of the merchants were varied, the author traced the origins of the immigrants back to their mother country in order to understand the social context of different merchants present in the murals. The images reflect the real lives of the different classes of Chinese merchants during the early Rattanakosin period. Someone selling goods by boat, wearing a cone hat and three quarter length black pants was a common sight in everyday life. In contrast, images of wealthy merchants wearing long traditional silk gowns can mostly be found only on murals in royal temples such as wat Phra chetuphon or Wat Suthat. While the social standing of the latter had directly or indirectly stimulated the artistic direction on temple murals, the status of the former had no influence.