
ความสัมพันธ์ไทย – อินเดีย : ศึกษาจากถ้ำสถานระยะแรกในประเทศไทย
ON THE RELATIONSHIP BETWEEN THAILAND AND INDIA: A VIEW FROM EARLY CAVE TEMPLES IN THAILAND
โดย สฤษดิ์พงศ์ ขุนทรง / By Saritpong Khunsong
Damrong Journal, Vol 6, No.2, 2007
บทคัดย่อ:
ชุมชนสมัยประวัติศาสตร์ในระยะแรกในประเทศไทย ทั้งในวัฒนธรรมทวารวดีและศรีวิชัยได้ประยุกต์แนวคิดในการสร้างถ้ำศาสนสถานจากประเทศอินเดียมาสร้างถ้ำศาสนสถานในดินแดนของตน ทั้งถ้ำที่เนื่องในพุทธนศาสนาและศาสนาพราหมณ์โดยมีทั้งถ้ำที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติแล้วมนุษย์ในเข้าไปใช้พื้นที่ปรับปรุงเป็นศาสนสถาน และถ้ำที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติแล้วมนุษย์ในอดีตเข้าไปใช้พื้นที่ปรับปรุงเป็นศาสนสถาน และถ้ำที่เกิดจากการขุดเจาะภูเขาเข้าไปซึ่งเป็นเทคนิคเดียวกันกับที่พบในประเทศอินเดียว แต่สิ่งที่แตกต่างกันประการหนึ่งคือ ในไทยนิยมใช้ปูนปั้นหรือดินดิบในการสร้าง หรือ ประดับตกแต่งภาพที่สลักผนังถ้ำ ซึ่งไม่พบในถ้ำศาสนสถานของอินเดีย อย่างไรก็ตาม ในส่วนของรายละเอียดทางด้านประติมานวิทยาและรูปแบบศิลปกรรมต่างๆ ทั้งภาพเล่าเรื่องทางพุทธศาสนาและลวดลายประดับตกแต่งที่ปรากฏในถ้ำศาสนสถานระยะแรกๆของไทย ก็มีลักษณะหลายประการคล้ายกับศิลปะอินเดีย
ABSTRACT:
On the Relationship between Thailand and India: A view from Early Cave Temples in Thailand Ancient DvaravatT and SrTvijaya cultures that existed in Thailand derived and adapted Indian concepts to build their cave teples, both for Buddhism and Brahmanism. There are two types of early cave temples in Thailand: natural and rock-cut.The rock-cut cave in Thailand resembles those found in India. Although Indian influence during this period is evident, there are some differences. For example, the cave temples in Thailand were often decorated with stucco or clay bas-relief depictions. Such decorative techniques are absent in India, whereas iconographic and art styles are similar to those of India.