
การศึกษาภาชนะดินเผาที่ขุดพบจากภายในกรุเจดีย์รายของโบราณสถาน ภายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติรามคำแหง จังหวัดสุโขทัย
RAMKHAMHAENG NATIONAL MUSEUM: 14TH CENTURY CHINESE PORCELAIN
โดย โก มูไก / By Ko Mukai
Damrong Journal, Vol 8, No.2, 2009
บทคัดย่อ:
บทความนี้เป็นการนำเสนอความสำคัญของเมืองสุโขทัยทางด้านการค้าและวัฒนธรรมในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 19 - ต้นพุทธศตวรรษที่ 20 โดยวิเคราะห์ภาชนะดินเผาที่ขุดค้นพบภายในกลุ่มกรุเจดีย์รายของโบราณสถานในพื้นที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย
ในการวิเคราะห์ภาชนะดินเผาจากการขุดแต่งโบราณสถานแห่งนี้ นอกจากกลุ่มภาชนะดินเผาที่ขุดพบจากภายในกรุเจดีย์รายหลายองค์แล้ว ยังได้ศึกษาภาชนะดินเผาที่ขุดค้นพบในบริเวณรอบๆ ซึ่งเป็นภาชนะดินเผาที่มีร่องรอยการใช้งานจากการสังเกตรอยไฟและเศษปูนขาวบนผิวภาชนะ สันนิษฐานว่ากลุ่มเศษภาชนะดินเผาที่มีร่องรอยเหล่านี้ยังเป็นเครื่องถ้วยอีกกลุ่มหนึ่งที่เคยถูกบรรจุภายในกรุเจดีย์องค์ใดองค์หนึ่งแต่เดิมเช่นกัน
ความมากมายและคุณภาพสูงของภาชนะดินเผาเหล่านี้ โดยเฉพาะเครื่องถ้วยจีนชนิดลายครามประเภทไหขนาดใหญ่สมันราชวงศ์หยวนเป็นจำนวนกว่า 10 ใบ คงแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของเมืองสุโขทัยอันเป็นศูนย์กลางทางด้านการค้าและวัฒนธรรมในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 19 – ต้นพุทธศตวรรษที่ 20
ABSTRACT:
This article presents the importance of the ancient town of Sukhothai as a cultural centre during the rate 14th century, based on analysis of ceramics excavated from a group of subsidiary stupas at the temple site of the Ramkhamhaeng National Museum, ChangwatSukhothai. The excavations, which discovered various interesting artifacts, were conducted by the Fine Arts Department in 2001. Many complete ceramics were unearthed, as well as many potsherds. The ceramics consisted mainly of Chinese blue and while porcelain from the Yuan dynasty, including bowls, large Quan jars and large Meiping vases. Analyzing these ceramics strongly indicates that the ancient town of Sukothai was a prosperous trading and cultural centre during late 14th century.